วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ประชาชนจะต้องรับทราบเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับชีวิตประจำวันว่า หากประสบอุบัติเหตุทางถนน  ภาครัฐกำหนดให้ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยได้รับเงินชดเชยเยียวยาให้กับผู้ประสบอุบัติเหตุ บาดเจ็บ 30,000 บาทต่อคน หากเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการสอบสวนใครถูกใครผิด โดยยื่นหลักฐานประจำตัวขอรับเงินได้ที่สำนักงาน คปภ.จังหวัดทุกจังหวัด

หากไม่ทำประกันภัย เจ้าของรถจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน  โดยสำนักงาน คปภ.จะมาเรียกคืนค่าเสียหายเบื้องต้นจากที่จ่ายไปก่อนแล้วตามที่กล่าวข้างต้น  ค่าสินไหมทดแทนผู้เสียจะต้องฟ้องร้องเอากับผู้ผิดต่อไป

หากทำประกันภัย บริษัทประกันภัยที่รับทำประกันภัย

ภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้ กรณีเป็นฝ่ายถูก

1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน

2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน

3. สูญเสียอวัยวะ

3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป 300,000 บาท

3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด 250,000 บาท

3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว 200,000 บาท

4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท

5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท

6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง

7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

—————————ภภภภ——————————