การขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง โดยลักษณะของความแห้งแล้ง แบ่งเป็น 4 ลักษณะ (https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71 ) คือ
-
- ด้านอุตุนิยมวิทยา : ฝนแล้งหมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ ด้วย ทำให้เกิดความแห้งแล้งด้านการเกษตร ด้านอุทกวิทยา และด้านเศรษฐศาสตร์ตามมา
- ด้านการเกษตร : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
- ด้านอุทกวิทยา : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลง ทำให้สภาพระบบนิเวศได้รับความเสียหาย
- ด้านเศรษฐศาสตร์ : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมกิจกรรมการผลิต เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเหล็กกล้า ทำเบียร์ ยางเทียม กระดาษ และอื่นๆ รวมทั้งใช้ในการจ่ายแจกผลผลิต เช่น การคมนาคมทางน้ำ เพื่อนำผลผลิตไปสู่ตลาดหรือนำวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน นอกจากนี้ยังใช้ในการบริโภคในชีวิตประจำวัน คือ ใช้ดื่ม อาบ ทำอาหาร ชำระล้างสิ่งสกปรก ดับเพลิง และผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิ
- การป้องกันและบรรเทาความแห้งแล้ง ( http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2553/b170754.pdf ) ประกอบด้วยหลายๆ มาตรกาiในห้วงระยะเวลาเดียวกัน อาทิเช่น มาตรการบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เทคนิคการเพาะปลูกพืช การปรับปรุุงพันธ์พืชใช้น้ำน้อย การอนุรักษ์ป่าไม้ รักษาระบบนิเวศ การบำรุงรักษาแม่นำ้ลำคลอง ฯลฯ
การจัดการน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง ก็เป็นมาตรการสำคัญที่สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ระดับง่ายๆ ไปจนถึงระดับที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการดำเนินการ
การจัดการนำ้ในพื้นที่แห้งแล้งด้านการเกษตร
1.ปรับปรุงระบบการให้นำ้แก่พืช เพื่อให้เกิดการประหยัดและเพียงพอต่อความต้องการของพืช (http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter09/Agri_09.htm)
-
-
- แบบมินิสปริงเกอร์ สำหรับไม้ผล
- แบบไมโครสเปรย์ สำหรับพืชผักหรือไม้ผล
- แบบระบบน้ำหยด สำหรับพืชไร่ ไม้ผล อุปกรณ์ที่ใช้สามารถดัดแปลงอุปกรณ์สำหรับกักเก็บน้ำได้หลากหลาย และนำไปติดตั้งทั้งบนดินและฝังดิน
- แบบรอบระยะเวลา ที่เป็นแบบเช้า-เย็น
-
2.รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพื่อลดการระเหยของน้ำ
3.ปรับปรุงพันธ์พืชให้ใช้นำ้น้อย https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_101123
การจัดการนำ้ในพื้นที่แห้งแล้งด้านอุทกวิทยา
1.ควบคุมการนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ให้สมดุลกับการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ไม่สูบขึ้นมาใช้เป็นปริมาณมากจนเกินกว่าอัตราที่น้ำจะไหลเข้ามาแทนที่ช่องว่างระหว่างตะกอนในชั้นอุ้มน้ำได้ทัน
2.ออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้น้ำ เกี่ยวกับสิทธิของการใช้น้ำ เพื่อเป็นการควบคุมการแจกจ่ายน้ำ ทั้งที่อยู่บนพื้นดินและน้ำใต้ดิน ซึ่งทำให้เกิดความยุติธรรม เป็นการประหยัด และป้องกันการสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์
3.ปรับปรุงระบบชลประทานและคลองส่งน้ำต่างๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำในการส่งน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำจาก คลองชลประทานให้ดียิ่งขึ้น
4.หาวิธีการลดการระเหยจากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ตามบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ไม่เพิ่มปริมาณและความเร็วไหลตามผิวของน้ำด้วยการดาดผิวพื้นต่างๆ ให้แข็งรวมทั้งการทำทางให้น้ำไหลทิ้งไปรวดเร็วขึ้น https://www.ryt9.com/s/nnd/2903753
5.ทำธนาคารนำ้ใต้ดินเพิ่มขึ้น ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ความแห้งแล้งซ้ำซาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_118534
การจัดการนำ้ในพื้นที่แห้งแล้งด้านเศรษฐศาสตร์ (เมื่อใดที่น้ำจืดที่ใช้หมุนเวียนได้ที่ใช้ต่อคน/ปีลดต่ำลงกว่า 1,700 ลูกบาศก์เมตร ประเทศนั้นๆ จะพบกับปัญหาการเครียดน้ำ ต่ำกว่า 1,000 ลบม. ความขาดแคลนน้ำจะเริ่มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและเกิดปัญหาสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน)
1.ฟันฝ่าหาทางแก้ไขหรือลดปัญหามลพิษทางน้ำเป็นปัญหาทางน้ำมีสาเหตุสำคัญมาจากการน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นน้ำเสียจากขั้นตอนและกระบวนการผลิต การล้าง ขบวนการ หล่อเย็น รวมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ในกระบวนการเพาะปลูกมักมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชและสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อย่างขาดความระมัดระวัง ทำให้สารเคมีแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการฉีดพ่นสาร การชะล้างโดยฝน การล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์การฉีดพ่นในแหล่งน้ำ วิธีการแก้ไขปัญหา ไม่ทิ้งขยะ ลดการใช้พลาสติกให้น้อยลง เป็นต้น
2.คิดค้นวิธีเพิ่มผลผลิตอาหารโดยใช้น้ำน้อยลงซึ่งได้แก่: การปรับปรุงวิธีการและเทคโนโลยีด้านการชลประทาน การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเลือกพันธุ์พืชและระบบการเฝ้าสังเกตและตรวจสอบการใช้น้ำ
3.สร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นใหม่ให้มากพอสำหรับการประปาเพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดและปลอดภัยแก่ประชากร
4. เพื่มประสิทธิภาพการใช้นำ้ https://adeq.or.th/save-energy-26-4-61/
—————–5555555555555—————-