วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วย การจัดการวิกฤต หมายถึง การออกแบบกิจกรรม/กลยุทธ์เพื่อปกป้ององค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากความเสียหาย ความสูญเสีย หรือลดผลกระทบของภัยคุกคาม และเพื่อช่วยให้องค์กรจัดการกับเหตุการณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและมีนัยสำคัญ

โดยมี ขั้นตอนสำหรับการจัดการวิกฤต ดังนี้

1. การตรวจจับสัญญาณ ค้นหาสัญญาณเตือน  และดำเนินมาตรการป้องกัน

2. การตรวจสอบและป้องกัน

3.การค้นหาและการลดปัจจัยเสี่ยง

4. การควบคุมความเสียหายวิกฤตเกิดขึ้นและการดำเนินการเพื่อจำกัดการแพร่กระจายสถานการณ์

5. การฟื้นตัว  ความพยายามที่จะกลับสู่การปฏิบัติงานตามปกติ

6. การเรียนรู้ผู้คนทบทวนความพยายามในการจัดการวิกฤตและเรียนรู้จากมัน

แต่เมื่อขั้นตอนการตจัดการวิกฤตมาอยู่ในมือรัฐราชการไทย ถ้าดุ่ยๆๆ ทำตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น แล้วจะมีอะไรแดก จึงต้องทำให้ผิดเพี้ยนเพื่อให้เกิดช่องทางให้มีระบบค่าธรรมเนียมรักชาติขึ้น โดยจะมีแนวทางในการทำให้ผิดเพียน ซึ่งพวกเราจะต้องใส่ใจตรวจสอบการทำงานของพวกเขา เราจะทึ่งกับการเอารัดเอาเปรียบ รับเงินภาษีจากเราแล้วเอาไปสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ที่จะมาโปรดมากระจายความอนุเคราะห์ให้เรา  ซึ่งพอจะอธิบายให้กระจ่างชัดความอลังการบนหัวกบาลของพวกเราได้ ดังนี้

1. การตรวจจับสัญญาณ ค้นหาสัญญาณเตือน และดำเนินมาตรการป้องกันนั้น ก็จะหยุดแค่การเอาข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยามาเรียบเรียงใหม่ใส่สีเข้าไปนิดหน่อย แล้วก็เน้นการสร้างเครือข่ายเป็นลูกมือการเผยแพร่การเรียบเรียงข้อมูล รวม 2 กรม ก็ใช้งบประมาณปีละกว่า 200 ล้านบาทซึ่งเทียบไม่ได้กับการใช้เงินแค่หลักแสนบาทในการทำเครือข่ายจับสัญญาณ และค้นหาสัญญาณเตือนจากโครงการของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มีเพียงการตรวจจับอย่างละเอียดคือพายุ ฝนตกหนักอ่อนในพื้นที่ใด  ลมแรงในพื้นที่ใด) ส่วนใหญ่พวกเขาจะคอยฟังสัญญาณจากการสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีผู้ผลิดเข้ามาติดต่อผู้อำนาจ

จากการตรวจจับดังกล่าวมาตรการป้องกันก็มีจะมีเพียงจับเอาการพยากรณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยามาแจ้งเตือนตามกระบวนการสื่อสารไปยังหน่วยงานในสังกัด ประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนตามช่องทางต่างๆ ยังดีที่ไม่ออกมาโวยวายด่าทอประชาชนว่าไม่ฟังคำเตือน เหมือนปลายูสผู้นำสลิ่ม ผู้นำ

2. การตรวจสอบและป้องกัน

พวกเขาไม่เคยรื้อและลบรูปแบบการทำงานเดิม เพื่อจะให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมใหม่ แต่คอยตรวจสอบคอยจ้องความเสียหายของพวกเราเพียงแค่นั้น มันเป็นเรื่องที่ดีนะครับ  แต่ถ้าทำเพียงแค่นั้น ก็จะเป็นเพียงปัดเป่าให้กับปัจเจกบุคคล จะไม่เกิดการทำงานให้เกิดการป้องกันแก่มวลประชากรในสังคม

3. การค้นหาและการลดปัจจัยเสี่ยง

ไม่เคยตั้งคำถามในสิ่งที่เคยเห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาจึงมืดบอดต่อการค้นหา  ไม่เคยคิดจะมองปัญหาจากเดิมที่เคยมองเห็น  ทำให้สิ่งที่พวกเขามุ่งมั่นผลาญเงินงบประมาณของพวกเราในการลดปัจจัยเสี่ยง แต่พวกเรายังคงต้องเผชิญความเสี่ยงอยู่ต่อไป

4.การควบคุมความเสียหายวิกฤตเกิดขึ้นและการดำเนินการเพื่อจำกัดการแพร่กระจายสถานการณ์

ระหว่างเหตุการณ์อันร้ายแรงของพวกเรา พวกเขาจะทำงานโดยไม่เกิดการเรียนรู้ใหม่ระหว่างปฏิบัติงาน ไม่ปรับจุดเน้นใดๆ

5.การฟื้นตัว  ความพยายามที่จะกลับสู่การปฏิบัติงานตามปกติ

พวกเขาจะไม่พยายามเข้าสู่ฐานแนวคิดที่เกิดขึ้นจริงในโลก VUCA world (V=Volatility , U=ที่นำภาษีมามอบความฟื้นตัวให้พวกเราด้วยข้อจำกัดของระเบียบที่ล้าหลัง ไม่ทันต่อ Vuca World ที่เราต้องเผชิญ ซึ่งพวกเราในหลายๆ พื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติแทบจะไม่สามารถฟื้นตัวจากการทำงานของพวกเขาได้เลย เป็นองค์กรที่แข้งตัวนัก พวกเราต้อมมีมาตรการทำให้อ่อนตัวให้ได้


เรียกว่า นอกจากจะเจอความโหดร้ายจากธรรมชาติแล้ว ยังต้องเจอการไร้ความปราณีจากภาครัฐปรสิต

—————-xxxxx—————–