ในยุคที่ทุกอย่างเชื่่อมต่อด้วยอินเตอร์เน็ต ในยุคที่ประสิทธิภาพการขัดเกลาทางสังคมไม่ได้มาจากการพรำ่สอนจากความทรงจำจากประสบการณ์ของตนหรือของกลุ่มคนเพียงน้อยนิด ที่ขาดมุมมองด้านสถิติของความน่าจะเป็น หรือแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในอดีตด้วยปรากฎการณ์หรือการรับรู้อยู่ในวงแคบๆ ทั้งพื้นที่ ช่องทาง ปริมาณข้อมูล ก่อให้เกิดความเชื่อที่เป็นอัตวิสัยหรือมุมมองหรือความคิดเห็นส่วนตน
ในปัจจุบัน เรามีความก้าวหน้าในวิทยาการและการที่สังคมรับเอาวิทยาศาสตร์มาเป็นแนวคิดหลัก ทำให้ปรากฏการณ์หรือการรับรู้ของเราถูกวิพากษ์ พิสูจน์ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และบันทึกอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ที่ไม่สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้หรือยังตรวจสอบพิสูจน์ได้ ทำให้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ปรากฏการณ์หรือการรับรู้ใดที่สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้ก็ถือเป็นความเชื่อของสังคม
บนท้องถนน
ความเชื่อของเราที่มีคุณค่าที่นำสู่ความสุขในการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งจะแตกต่างกันตามศักยภาพของปัจเจกบุคคล แต่ท้องถนนที่ปลอดภัยที่ทุกคนเดินทางอย่างมีความสุข เราต้องมีมาตรฐานกลางในการควบคุมความเชื่อ ดังนี้
1. เข้มงวดหรืออย่ายอมให้มีปรากฏการณ์หรือการรับรู้ที่ตรวจสอบพิสูจน์ได้ของผู้คนบนท้องถนนนำสู่ความเชื่อที่สามารถดำเนินไปได้อย่างสบายๆ เช่น ขับเร็ว (ควรมีการจำกัดความเร็วไม่เท่ากัน ในแต่ละช่วงตามความเสี่ยง) ฝ่าสัญญาณจราจร ฝ่าฝืนสัญญาณบนพื้นทาง ใช้สัญญาณ ฯลฯ ที่สำคัญต้องมีการสืบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและนำมาสนับสนุนการคาดคะเนหรือการคาดการณ์ เท่าที่ทำเท่าที่เห็นระเบียบกฎหมายก็มีเยอะแต่ไร้ผลในการบังคับใช้ ไปแก้ให้หนักกว่าปกติจนเกิดความเหลื่อมล้ำ แต่ไร้ประสิทธิภาพ
2. หมั่นตรวจสอบและแทรกแซงกระบวนการสร้างความเชื่อของสังคมเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือการรับรู้บนท้องถนนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปรากฏการณ์เด็กแว่นหัวร้อน /กราบรถกู /ลุงวิศวะยิงเด็ก / ฯลฯ
3. ประยุกต์เอาความเชื่อของสังคมมาใช้ประโยชน์
————————-5555—————————-