วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ช่วงที่เรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผมมีวิชาเรียนประวัติศาสตร์ รู้ว่าใครทำอะไรที่ไหนในช่วงปีไหนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มาถึงขณะนี้ อยากให้มีการเรียนประวัติศาสตร์รูปแบบใหม่

คือ เพิ่มเติมหรือเน้นเป็นพิเศษให้มีการสรุปบทเรียนแล้วถอดออกมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทปัจจุบัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม เป็นการหัดสร้างวิสัยทัศน์จากการเรียนรู้จากความผืดพลาดของผู้คนที่อยู่ห่างไกล เพื่อจะกระทำสิ่งที่แตกต่างออกไป

อดีตที่นานๆมาก มีซากปรักหักพัง มีบันทึกประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ เป็นอนุสรณ์ เป็นฐานข้อมูลที่ดีเยี่ยมให้เราได้เรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจในการกระทำสิ่งที่แตกต่างออกไป มีวิถีชีวิตที่รอดพ้นจากสภาวะสังคมที่ล้มเหลวและล่มสลายในอนาคต

แต่ร่องรอยประวัติศาสตร์ระยะสั้นๆ อันเป็นร่องรอยที่ทำให้แนวทางการปรับตัว การกระทำที่แตกต่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก แต่เรายังมองไม่เห็นว่าเรากำลังดำเนินกระบวนการบ่อนทำลายตนเอง ความเสียหาย การล้มตาย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ล้มตายชั่วโมงละ 1.5 คน ที่ภาครัฐพยายามดำเนินการแก้ไขอย่างงุบงิบ ไม่เอาร่องรอยที่เกิดขึ้นมาศึกษา แต่ละหน่วยงานก็จะกระมิดกระเมี้ยนที่จะพูดถึงประวัติศาสตร์หายนะบนท้องถนน  มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย แต่เรายังปล่อยให้มีการผลิตซำ้ความผิดพลาดจากการขับขี่ซ้ำๆ ทั้งในรูปแบบและลักษณะกายภาพ  ทั้งในพฤติกรรมการขับขี่พฤติกรรมโดยสาร

ควรที่จะพัฒนาระบบการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน  ต่อไปอีกขึ้น คือเข้าไปศึกษารายละเอียดความผิดพลาดในแต่ละกรณ๊ ในสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง  หรือศึกษาจากวิดีโอยิ่งดี

หมายเหตุ

ระบบการสืบสวนอุบัติเหตุ มี 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของอุบัติเหตุ ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐมีการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จำนวน 12 หน่วยงาน

ระดับที่ 2 การรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดในสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง (อยู่ในระหว่างการพัฒนา

ระดับที่ 3 การทดลองความปลอดภัยในถานที่จริง หรือการตรวจประเมินความปลอดภัย

 

————————–บบบบบบบบบบบบบบบบ——————————–