ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ทั้งภายในและภายนอก ในระยะที่ผ่านมาครอบครัวได้ถูกพัฒนาให้โยงสัมพันธ์แบบแนบแน่นกับภาครัฐในเชิงที่ไม่สามารถหลุดพ้นกรอบที่รัฐกำหนดหรือเข่้าไปจัดระเบียบและควบคุม หรือไม่มีความพยายามที่เข้มข้นเพียงพอ
1. มีการสือสารทางบวกและรู้ทันสังคม ทั้งรับสื่อและส่งสารในทางบวก
ให้ความสำคัญกับการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ขัดเกลาซึ่งกันและกันให้สัมพันธ์กลมเกลียวภายใต้การกดดันจากภายนอกครอบครัว (ไม่ว่าต่อหน้าหรือสื่อสังคมออนไลน์) ไม่มีช่องว่างการสื่อสารระหว่างกันภายในครอบครัวภายใต้หลักประชาธิปไตยในครอบครัว ร่วมกันเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อนิเวศภายนอกครอครัว
2. ให้ความสำคัญกับคุณค่า และมาตรฐานพฤติกรรม
ผู้ประสบสาธารณภัยส่วนใหญ่ จะมองไม่เห็นคุณค่าของครอบครัวที่เลี้ยงดูมีความรักต่อกันผูกพันอุปถัมถ์กันตลอดชีวิต ทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อหายนะต่ออันตรายหรือมีวิถีชีวิตที่ลดความสมดุลกับธรรมชาติ
3. เผชิญปัญหาทางบวกและยั่งยืน
ภายใต้ความพอเพียงตามสถานภาพครอบครัว ภายใต้การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้คสามารถในการเผชิญปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบครัวที่ประสบสาธารณภัยมักจะเผชิญปัญญหาแบบสร้างความรุนแรงให้กับสังคมโโยเห็นว่าครอบครัวได้ประโยชน์ที่เห็นว่าเป็นสิทธิเป็นเสรีภาพ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนเพื่อสังคมโดยรวมหรือมองไม่เห็นความยั่งยืนในวิถีสังคม เห็นได้ชัดจากปัญหาภัยแล้ง อุทกภัยและดินโคลนถล่ม โรคระบาดพืชและศัตรูพืช
——————————–555555555555—————————–