วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แม้จะเอาแนวคิดการบริหารจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานมาจากญี่ปุ่น แต่ในกลไกการบริหารญี่ปุ่นให้ความสำคัญว่าฝ่ายที่จะสามารถจัดการรับมือกับเหตุการณ์หรือภัยพิบัติได้ดีที่สุดคือหน่วยงานในระดับตำ่ที่สุดคือ อปท. คือเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น แต่ของไทยกลับมีแนวคิดที่จะให้หน่วยงานระดับอื่นๆ (เพื่อสนองกิเลสศักดินา)(เชื้อสายผู้ดีคิดจะมีมี ปภ.อำเภอพะน่ะ)(จนท.ระดับสูงของบริศัทก็ใช้ภาษีบินไปดูงานญี่ปุ่นเป็นว่าเล่นนะ แต่สงสัยมัวแต่ไปดูซากุระ) หรือรัฐบาลกลางเข้าไปจัดการเพื่อเอาหน้าเอาความนิยม

แม้ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ให้ความสำคัญกับระดับท้องถิ่นมากกว่าระดับที่สูงขึ้นมา ซึ่งกว่าจะนำแผนการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติมาใช้ จะต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้

1.หน่วยงานของรัฐบาลกลางได้ร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัฐมนตรีกระทรวง Homeland Security

2.ทรัพยากรของเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีไม่เพียงพอ และเจ้าหน้าที่ของมลรัฐหรือท้องถิ่นได้ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง

3.หน่วยงานของรัฐบาลกลางมากกว่าหนึ่งแห่งมีความเกี่ยวข้องที่จะต้องจัดการแก้ไขเหตุการณ์นั้นๆ

4.รัฐมนตรีกระทรวง Homeland Security ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเหตุการณ์นั้นๆตามคำสั่งประธานาธิบดี

แตกต่างจากไทยที่แม้จะเขียนระดับในการจัดการภัยพิบัติไว้ แต่ในการปฏิบัติจริงก็หาความชัดเจนอะไรไม่ได้  อาจจะกล่าวได้ว่าขึ้นกับความสนใจของสื่อมวลชน  ถ้าได้รับความสนใจมาก ผู้บริหารระดับสูงก็จะลงไปอำนวยการสั่งการแบบลอยในพื้นที่

—————-xxxxxxx—————–