วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสถาปนาพลังอำนาจในการต่อสู้กับความทุกข์ยากของคนในชาติหรือความทุกข์ของชาติ ต้องยอมรับว่าสังคมยุคฮิตเล่อร์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ควรจะต้องถือเป็นแบบอย่างที่ดี (ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับพลังอำนาจเยอรมันช่วงสงคราโลกครั้งที่ 2)

ฮิตเลอร์สถาปนาทุนทางสังคมให้มีพลังอำนาจจากเหตุการณ์เดียว คือสนธิสัญญาแวร์ซายน์ ความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเยอรมันอันเป็นการเมืองของการช่วงชิงพื้นที่ของสังคม สามารถขยายมิติทางสังคมที่หลากหลายขึ้นในสังคม

ตรงกันข้ามกับประเทศสารขัณฑ์ ที่เจ้าหน้าที่รัฐมักจะอวดอ้างว่าตนมีเชื้อที่จะเป็นข้าราชการแต่กลับโง่เง่าไม่สมกับที่อวดอ้างโคตรเง้าเผ่าพันธ์ในอดีต ที่มีลักษณะที่มุ่งลดทอนทุนทางสังคม ดังนี้

1.ลดทอนทุนทางสังคมให้เหลือเพียงมิติเดียว เช่น มีประชาชนที่มีกำลังที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยามตกทุกข์ลำบากในช่วงดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด 19 ภาครัฐเจ้าหน้าที่รัฐก็พยายามลดทอนให้เหลือเพียงมิติเดียว คือต้องอยู่ภายใต้การกำกับของภาครัฐ อะไรนักหนายอมลดราศักดินาลงสักหน่อยไม่ได้ดอกหรือ ยอมตรอมใจที่เห็นคนที่พลังอำนาจเข้ามาช่วยเหลือเจือจานเพื่อนมนุษย์ได้มากกว่าตนซึ่งมีหน้าที่โโยตรงไม่ได้เชียวหรือ  หรือว่าไม่ใช่ตามที่อธิบายมา เพราะเหตุผล จริงคือโง่เง่าดักดานไม่รู้เรื่องลดทงลดทอนอะไรหรอก

2.ลดทอนทุนทางสังคมโดยไม่เห็นค่าของความตระหนัก กล่าวคือ กลุ่มที่ไม่ตระหนักเช่น บ่อน สนามมวย สนามชนไ่ก่ อันเป็นกลุ่มที่ขาดความตระหนักกลับละเลยต่อการบ่อนทำลายทุนทางสังคม  แต่ประชาชนที่รู้สึกตระหนักถึงผลกระทบอย่างเข้ากระดูก จนต้องไปรับบริจาคเงินทองข้าวปลาอาหารกลับไม่ยินยอมที่จะลดทิฏฐิมานะประสานงานตั้งศูนย์ประสานอำนวยการให้เกิดความราบรื่นให้เกิดพลังอำนาจร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชน ดังเช่นที่มีข่าวว่ารัฐไปยกเลิกงานแจกข้าวปลาอาหารยึดของแจกไปยึกบัตรประชาชนไปตรวจสอบ ปล่อยให้คนไปรอแจกต้องทุกข์ยากมากขึ้นไปอีก  คนที่อดอยากต้องฝ่าฝืนการออกนอกบ้านกลางคำ่กลางคืนเพื่อไปหาอาหารตามธรรมชาติมาเลี้ยงครอบครัว ภาครัฐยังอุตส่าห์ใช้ความพยายามไปตามจับตามล่ามาดำเนินคดี ไม่ว่าจะมองยังไงก็มองไม่ออกว่าใอ้คนที่ไปหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวมันไม่แยแสต่อการระบาดโควิด 19 จะไปแพร่ไวรัสให้ปลาปูหนูเขียดหรืออย่างไร

——————–/////////////////———————–