เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ โดยที่ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก และทั้งที่การขับเคลื่อนดังกล่าวจะต้องขับเคลื่อนด้วยความรอบรู้ และความรอบคอบ
แต่จากผลการศึกษาวิจัย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลับพบว่าภาครัฐที่ใช้งบประมาณใช้หน่วยงานเฉพาะที่ถือว่าเป็นมืออาชีพ (มีเงินเดือนมีค่าตอบแทนในตำแหน่งที่มากมายด้วยภาระงานที่มากและมีความสำคัญสูง) มีความพร้อมด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่าภาคประชาชน ดังตารางสรุปผลการศึกษาวิจัย ดังนี้
|
ภาครัฐ |
ภาคประชาชน |
ภาคเอกชน |
|
ค่าเฉลี่ยความพอเพียง |
||
ความมีเหตุผล |
3.5 |
6.8 |
8.4 |
ความพอประมาณ |
4.3 |
6.2 |
3.8 |
การมีภูมิคุ้มกัน |
6.3 |
3.4 |
7.2 |
ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = 0.52 |
ข้อสังเกตุ
1.น่าประหลาดใจที่ภาครัฐ เป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีความเป็นเหตุเป็นผลในการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คาดว่าน่าจะมอบหมายให้คนใกล้ชิด 84,000 เซล สั่งการมาให้วิ่งกันหัวถิ่มหัวตำปฏิบัติงาน โดยขาดความมีเหตุมีผล
2.ความพอประมาณ ในภาครัฐจะเกินศักยภาพ เกินความจำเป็น แบบเว่อร์ๆ แม้กระทั่งเรื่องกำลังคน มีผลการสำรวจความต้องการกำลังคนเพิ้่มขึ้นทุกปี (ทั้งๆ ที่ดูจากผลงานแล้ว แทบจะโล๊ะทิ้งไปทั้งหน่วยงานก็ยังได้) ส่วนภาคเอกชน จะเป็นการไม่สมดุลกับภาคสังคม คือป้องกันเฉพาะส่วนงาน แต่บางส่วนเอาเปรียบสังคมมากๆๆๆ เช่น เรื่องการใช้นำ้ เอาเปรียบสังคมมากๆๆ
——————————-//////////————————-