วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากคำพูดของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ “เรื่องเล่าช่วยถอนพิษชีวิตได้ ต่างจากตัวเลขซึ่งไม่เหลือเรื่องราวที่เชื่อมโยงไปถึงความเป็นมนุษย์” https://thepotential.org/2019/05/07/komatra-chuengsatiansup-interview-deschool/ดังนั้น หากว่าเราเปรียบอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิษของชีวิต เราก็จะเห็นว่าในปัจจุบันเราถอนพิษของชีวิตในกรณีของอุบัติเหตุทางถนนผิดทิศผิดทาง

หน่วยงาน/องค์กรที่แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (รวมภาษีประชาชนที่ใช้แค่ละปี เกือบ 36,000 ล้านบาท) มีภาพการดำเนินงานที่เป็นรับรู้อย่างชัดเจน ได้แก่

1.มุ่งเก็บรวบรวมตัวเลขที่แสดงความผิดพลาดของคนบนท้องถนน

เพื่อขยายหน้าตาภาพลักษณ์ของตนเอง ขยายงบประมาณ ภารกิจหน้าที่

2.นำสิ่งปนเปื้อนทางสังคมเข้าสู่ท้องถนน

ที่เด่นชัดคือการทุจริตคอรัปชั่นของหลายๆ หน่วยงานบนท้องถนน

3.ช่วงชิงพื้นที่บนท้องถนน

ทั้งช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางความคิด  ช่วงชิงการสื่อสารความหมาย ฯลฯ บนวาทกรรมความเหนื่อยยากในการลดคนเ็บคนตาย ที่แท้ที่ทำไปกลับเห็นแต่การแสดงความดีของตนเอง ขยายงบประมาณ ภารกิจหน้าที่

คนบนท้องถนนต้องการความเป็นคนอย่างไรบนท้องถนน

1.อย่าด่วนตัดสินคนบนท้องถนนจากตัวเลขความผิดพลาด จนคิดว่าคนบนท้องถนนเป็นเด็กๆ ในปกครองของตนเอง ทำตัวเป็นคุณพ่อผู้รู้ดี เอามาตรฐานหรือเกณฑ์การตัดสินของเราไปวัด  ส่งผลให้ผู้คนมากกว่านั้นถึงร้อยละ 97 ที่เดินทางบนท้องถนนต้องเดือดร้อนถูกลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  จากการสิ่งประดิษฐ์ของคุณพ่อรู้ดี ต่างๆ ทั้งรูปแบบระเบียบกฎหมาย  นวัตกรรมบนท้องถนน

2.มองบริบทสิ่งแวดล้อมบ้าง ส่งเสริมองค์ประกอบแวดล้อมที่ทำให้ความเป็นมนุษย์ของคนบนท้องถนนให้สมบูรณ์ขึ้น  ไม่ใช่จ้องแต่จะลดจะจำกัด  เข้าใจความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ แบบไม่แยกส่วน

ดังนั้นการจะลดละเลิกความห่วยของตัวเอง ตามข้อ 1-ข้อ 3  และหันมาแลเหลียวความเป็นมนุษย์ตามเงื่อนไข ข้อ 1- ข้อ 2 นั้น คงต้องให้ความสำคัญจากเรื่องเล่าให้มากขึ้น

—————–xxxxxxxxxx—————