เป็นที่น่าหดหู่ใจที่ปีหนึ่งๆ พวกเราต้องเจียดเงินงบประมาณ จำนวนเกือบหนึ่งหมื่นล้านบาทเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ส่วนใหญ่รัฐนำเงินไปใช้ในการขยายอาณาจักร และโฆษณาชวนเชื่อไปวันๆ ประชาชนต้องอยู่ในสภาวะความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น ด้วยมองไม่เห็นนัยยะสำคัญของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
นัยยะสำคัญของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย
1. การสร้างฉันทามติสังคมไม่ใช่มุ่งเน้นการควบคุมสังคม ภาครัฐดำเนินการแบบลวกๆ ด้วยอำนาจนิยม ผ่านโครงสร้างองค์กรและระเบียบกฎหมาย
2. การสร้างความชอบธรรม ไม่ใช่มุ่งเน้นความสมเหตุสมผลในการขยายอาณาจักร
3. การสร้างระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่มุ่งเน้นสร้างการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ(แบ่งเค๊กกันจนมูมมาม) ที่พิลึกไปกว่านั้นก็พยายามปั่นกระแสแนวคิดที่ประหลาดว่า “ประชาธิปไตย อาจจะไม่ใช่คำตอบของทุกเหตุการณ์ โดยเฉพราะในเรื่องของการรับมือภัยพิบัติ” (การจัดการภัยพิบัติไม่เป็นประชาธิปไตย) คงไปรวบรวมแนวคิดมาจากพวกเผชิญเหตุฉุกเฉินที่เข้าไปเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติก็มีสิทธิรื้อทำลายทรัพย์สิน ห้ามเข้าพื้นที่ ที่เขาให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมาขยาย แต่ภาพใหญ่การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ต้องใช้งบประมาณใช้พื้นที่ใช้ทรัพยากรมหาศาลจะต้องมีการตรวจสอบศึกษาถ่วงดุลอย่างเหมาะสมอย่างเข้มข้น ในอดีตที่ผ่านมาประเทศเสียหายจากการทุจริตคอรัปชั่นงบภัยพิบัติหลายหมื่นล้านบาท
4. การสร้างความไว้วางใจไม่ใช่มุ่งเน้นความน่าเชื่อถือในพื้นที่การปกครองภายใต้ระบอบอำนาจนิยม
———————1111——————————