สถานการณ์นำ้ท่วมภาคใต้ ณ วันที่ 27 มกราคม 2560 นับเวลาได้ 1 เดือนเต็ม ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานได้อย่างดี ช่วง Emergency การปฏิบัติงานอยู่ในภาวะเริ่มต้นของสังคมอารยะ แต่ช่วงก่อนเกิดและภายหลังจากช่วง Emergency นี้ไปแล้ว
ก็จะตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของกะลาแลนด์ กล่าวคือ
1) จะบูรณาการกันอยู่เฉพาะในห้องประชุม การปฏิบัติงานในพื้นที่ก็จะถูกละเลย ไม่ีมีแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม จนเรื่องนี้ถูกลืมเลือนไป
2) มาตรฐาน/บรรทัดฐานที่ถูกเรียกร้องช่วง Emergency ก็จะลืมเลือน ไม่ได้ถูกพัฒนาให้เป็นระบบในอนาคต
3) ระบบการทำงานในพื้นที่ที่เป็นแบบทีมงาน(ช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่อให้หน่วยปฏิบัติแต่ละหน่วยมีการประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด)ก็จะกลายเป็นแบบต่างคนต่างทำไม่ได้แคร์หน่วยงานข้างเตียงกันอีกแล้ว มีข้ออ้าง ข้อติดขัดต่างๆนานา ในระดับนโยบายที่กำกับเร่งรัดหน่วยงานของตนให้บรรลุพันธกิจร่วมกันในระดับพื้นที่ ก็จะกลับองค์กรเพื่อขับเคลื่อนทีมงานหาผลประโยชน์ การทำงานร่วมกัน ก็จะบูรณาการกันเฉพาะในห้องประชุม ช่วยกันออกกฎ ออกระเบียบ ออกข้อสั่งการ พัฒนาให้กะลาแลนด์เป็นเสือกระดาษ(ไร้การปฏิบัติในพื้นที่)
ตรงกันข้าม ในพื้นที่จะมีก็แต่เสือโคร่ง เสือดาวออกหากินอยู่เต็มพื้นที่ (การปฏิบัติ……) ระดับพื้นที่ปฏิบัติเฉพาะขยายงานพัฒนางานเพื่อรองรับการบริหารทรัพยากรที่ระดับนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง มุ่งทำตามกระดาษแผ่นหนึ่งที่สั่งการออกมาเรื่อยๆ วันๆระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ก็จะใช้ทรัพยากรใช้ความสามารถตามกระดาษแผ่นเดียว ไม่ได้เอาความทุกข์ความเดือดร้อนชองชาวบ้านเป็นตัวตั้งในการทำงาน มุ่งพัฒนาให้กะลาแลนด์เป็นประเทศเสือกระดาษ
ดังนั้น จึงสรุปบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการของข้าราชการประเทศกะลาแลนด์ ได้ดังนี้
1) ระดับปฏิบัติงาน ลักษณะการทำงานคือ ต่างคนต่างทำ ทำตามเจ้านายกูก็จบแต่ละวัน ถ้าเพื่อนๆที่ชอบพอ ก็จะพากันนั่งสอพลอไปวันๆ(แต่พวก””””””””””ก็มักมองว่ารู้จักทำงานเป็นทีม) ถ้าหมั่นไส้ไม่ชอบหน้าก็จะถูกนินทาสอดส่องจับผิดกล่าวขยายโทษเล็กให้ใหญ่โต
2) ระดับผู้บริหาร ลักษณะการทำงานคือ ทำแบบทีมงานและทำอยู่อย่างเดียวคือ มุ่งพัฒนาทีมงานที่จะร่วมกันแสวงหาประโยชน์ แทนที่จะต่างคนต่างทำให้มีประสิทธิผลสูงสุด ใครยังทำตัวเป็นตัวถ่วงอยู่จะต้องไปเร่งรัดลูกน้องให้เพิ่มประสิทธิผลให้บรรลุพันธกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ