การช่วงชิงอำนาจรัฐ หรือการครองสิทธิจัดการผลประโยชน์ของประเทศ วิธีการช่วงชิงอำนาจมีมากมาย แต่สำหรับบนท้องถนน ก็มีการช่วงชิงระหว่างรัฐ ประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งพอจะแยกแยะได้ ดังนี้
1.การแย่งชิงความหมาย ซึ่งการแย่งชิงนี้ฝ่ายรัฐเป็นผู้ชนะ
รัฐราชการของไทย จะประสบความสำเร็จในการให้คนด่ากันเองและโทษว่าเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดบนท้องถนน ความสำเร็จก็คือ ผู้ที่อยู่บนท้องถนนและคนในสังคมมักไม่ตั้งคำถามไปถึงตัวระบบว่ามันมีปัญหายังไง ตั้งแต่ว่าข้าราชการทุจริตเพราะความเหี้ยส่วนบุคคล สังคมมันแย่เพราะคนเห็นแก่ตัว อุบัติเหตุรายชั่วโมง/การจราจรติดขัด/เส้นทางชำรุดเราก็ต้องทนอยู่กันแบบแย่ๆ ต่อไป ทั้งนี้เพราะคนไม่มีความรับผิดชอบ สรุปคือประเทศไทยเป็นประเทศยูโทเปียเหมือนอยู่บนสวรรค์ ถ้าจะมีปัญหาห่าอะไรก้อผิดที่ปัจเจกบุคคลเท่านั้น
สรุปว่า บนท้องถนนมันแย่เพราะคนขับขี่เลว โดยสันดาน ไม่ได้เลวเพราะระบบสร้างให้เขาเลว
2.การแย่งชิงการแสดงถึงอำนาจ คิดว่าน่าจะมีแต่ตำหนวด ขนส่ง เอ๊ย ขนบ้ง เป็นฝ่ายชนะ ทุกกลุ่มได้แสดงอำนาจของตนบนท้องถนนได้ตามเส้นทางของตน ซึ่งการช่วงชิงนี้เป็นแรงบีบคั้นให้เกิดความรุนแรงบนท้องถนน และก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ทำให้บาดเจ็บล้มตายสูญเสียทรัพย์สิน
3.การช่วงชิงผลประโยชน์ และการเอารัดเอาเปรียบในการใช้ท้องถนน ซึ่งการแย่งชิงนี้ฝ่ายรัฐราชการ และกลุ่มพวกพ่อค้าเป็นผู้ชนะและกุมอำนาจ กล่าวถือได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าประชาชนผู้ใช้แค่สัญจรเท่านั้น ตำหนวดได้เงิน และดูเหมือนว่าพ่อค้าจะเป็นเสียเงิน แต่ผลประโยชน์ที่ได้ก็คุ้มค่ากับการลงทุน ประชาชนได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย แต่เสียเปรียบตำหนวดกับพ่อค้า ต้องแบกจนหลังอานชั่วลูกชั่วหลาน
4.การช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม
4.1 ฝ่ายรัฐราชการ ก็ใช้ท้องถนนผลิตวาทกรรมความเหนื่อยยากในการลดคนเจ็บบคนตาย ขอขยายหน่วยงาน/องค์กร ที่แท้ที่ทำไปกลับเห็นแต่การแสดงความดีของตนเอง หรือไม่ก็อ้างภารกิจการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสร้างความเจริญ แต่กลับมูมมามขยายงบประมาณที่ไม่สมเหตุสมผล
4.2 ฝ่ายประชาชน ได้มีรูปแบบวิถึชีวิตใหม่ที่มีทั้งรูปแบบที่ไม่เสี่ยงอุบัติเหตุ และรูปแบบที่เสี่ยงอันตรายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
4.3 ฝ่ายพ่อค้านายทุน สนับสนุนให้เครือข่ายการค้าของตนเจริญรุดหน้า เครือข่ายอุปถัมถ์กว้างขวางสมประโยชน์
ที่กล่าวมาข้างต้น มีความจำเป็นที่เราจะต้องหยุดการช่วงชิงทั้งหมด หันมาสรรเสริญธรรมาภิบาล คุณธรรมจริยธรรม กฎระเบียบทางสังคม เพื่อที่ท้องถนนจะเอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างคุ้มทุน
——ปป———-