วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

พวกหนึ่งเรียกร้อง ทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดนักการเมืองเลว (สลิ่ม) อีกพวกหนึ่งเรียกร้องให้กำจัดการเมืองเลวๆ (คณะราษฎร 2563) เช่นเดียวกับภาวะการจัดการภัยพิบัติ ก็มี 2 พวก ชัดเจนเหมือนกัน คือ

1.พวกกินบ้านกินเมืองมีข้อเรียกร้องให้ประชาชนร่วมมือตามที่สั่ง ตามนโยบาย ตามแผนปฏิบัติของตน ภายใต้มโนทัศน์ “จงอยู่และประสบภัยพิบัติไปเถอะ เราจะโชว์เพาเวอร์ (เพื่อกำหนดแดก/แย่งประชาชนกำหนดซะงั้น) หยิบยื่นความช่วยเหลือให้มีลมหายใจเพื่อให้กลับมาเป็นเครื่องมือของตนต่อไปนานๆ

2.พวกประสบสาธารณภัยที่ถูกจำกัดอยู่กับวังวนภัยพิบัติมีข้อเรียกร้องอย่างใด

2.1 สภาพความเป็นจริงที่มี คือมีพวกเด็กดี มีข้อเรียกร้องให้เห็นความอ่อนน้อมของตน สมควรจะช่วยเหลือหยิบยื่นให้ซะดีๆๆ

2.2 สภาพที่ควรจะเกิดขึ้น คือมีพวกไม่อยากจำยอมอยู่ภายใต้เพดานอันต่ำเตี้ยของส่วนราชการ มีข้อเรียกร้องให้หยุดความรุนแรงของความอยุติธรรม หยุดอภิสิทธิ์ของส่วนราชการ

ไม่อยากจะใช้คำว่าเป็นการต่อสู้กับข้อขัดแย้ง อยากใช้คำว่าสงครามด้วยซ้ำ เพื่อสุมไฟในดวงใจให้กระโดดโลดเต้นไปสู่สภาพที่ควรจะเป็นโดยเร็ว ต่อสู้กับตรรกะของพวกตามข้อ 1 ให้พ้นจาก “ค่าคุ้มครอง” ที่แพงจนประชาชนหลังอาน แต่การคุ้มครองที่ได้จากส่วนราชการมาเฟียมันไม่สมเหตุสมผลกับการตอบแทนอำนาจการคุ้มครองของพวกเขา กำจัดซากเดนความคิดรัฐศักดินาแบบเก่าๆ ที่ต้องให้ประชาชนตอบแทนความกรุณาของรัฐ เราต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อลูกหลานจะได้ไม่ถูกเรียก “ค่าคุ้มครอง”ที่ไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป  จะทวงถามแค่เรื่อง ความรับผิดชอบจากส่วนราชการคงไม่พอ ต้องทะลุเพดานไปถึง “ค่าคุ้มครอง” ประเทศชาติและประชาชน นอกจากจะเจอความโหดร้ายจากธรรมชาติแล้ว ยังต้องเจอการไร้ความปราณีจากภาครัฐปรสิต

—————ปปปปปปปป————