วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ชุมชนในพื้นที่ราบลุ่มน้ำมักจะประสบภัยพิบัติด้านต่างๆ บ่อยครั้งแต่ไม่รุนแรงนัก และลักษณะพื้นที่สูงบนสันเขา/ในหุบเขา  มักจะไม่ค่อยประสบเหตุภัยพิบัติทั้งภัยแล้ง ภัยหนาว อุทกภัย แต่เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นมักจะรุนแรงก่อให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง

ดังนั้น พื้นที่ดังกล่าวจึงความต้องการจำเป็นด้านการเตือนภัย เป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วนมากที่สุดในพื้นที่สูงบนสันเขา/ในหุบเขา และชุมชนขนาดกลางมีความเสี่ยงที่จะต้องเร่งพัฒนาให้มีสมรรถนะที่สูงมากที่สุด มากกว่าชุมชนขนาดใหญ่และชุมชนขนาดเล็ก

ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากชุมชนขนาดใหญ่มีความพร้อมในด้านต่างๆมาก หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเอาใจใส่ในรูปของโครงการ/แผนงานต่างๆ ทำให้มีรูปแบบโครงสร้างทางสังคมที่พร้อมในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน  จึงมีความต้องการจำเป็นน้อยกว่าชุมชนขนาดกลาง

ส่วนชุมชนขนาดเล็กนั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมรักใคร่ระหว่างกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความสามัคคีกันสูงมากกว่าชุมชนฃนาดใหญ่และขนาดกลาง

ดังนั้น ชุมชนขนาดใหญ่และชุมชนขนาดเล็กจึงมีสมรรถนะด้านความความพร้อมในการแบกรับปัญหา ความพร้อมในการแก้ปัญหา และมีความสามารถในการแก้ข้อขัดแย้งให้เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สังเกตุพบได้ในการจัดการภาวะฉุกเฉินมากกว่าชุมชนขนาดกลาง

ตารางสถิติการประเมินความต้องการจำเป็นสมรรถนะชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ

ดัชนีความต้องการจำเป็น

ลำดับความสำคัญ

ชุมชนขนาดเล็ก (น้อยกว่า

0.69

2

ชุมชนขนาดกลาง

0.89

1

ชุมชนขนาดใหญ่

0.43

3

—————————————–