วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เขตพื้นที่ชนบทของไทยส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ยังชีพประจำชุมชนหมู่บ้าน  ซึ่งธรรมชาติสร้างไว้ให้ โดยชาวชนบทได้ปรับตัวในการดำรงชีพ

สร้างภูมิปัญญาประยุกต์วิถีชีวิตประจำวันพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แต่จากการพัฒนาของมนุษย์ด้านต่างๆ  จนมีความเจริญ ที่สร้างความสะดวกสบายในรูปแบบใหม่มากมายที่สร้างความพึงพอใจให้เป็นอย่างมาก

แต่พื้นที่ยังชีพประจำชุมชนหมู่บ้านกลับลดน้อยลง ส่วนใหญ่มองไม่เห็นพื้นที่ยังชีพของชุมชนหมู่บ้านตนเอง  ที่บรรพบุรุษได้พึ่งพาสร้างสรรค์ไว้

แต่อาจจะเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ เมื่อมนุษย์ได้รับผลกระทบอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสามารถของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น

คือการปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี   ตัวอย่างเช่น แม้เราจะลืมพื้นที่ยังชีพไปแล้ว แต่เมื่อเกิดผลกระทบจากการพัฒนา จากการหลงลืมภูมิปัญญาดั้งเดิม  เราก็สามารถปรับตัวจนมองเห็นพื้นที่ยังชีพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ดังเช่น เขตพื้นที่ตำบลนครป่าหมาก  อำเภอบางกระทุ่ม   จังหวัดพิษณุโลก  ที่หน้าฝนก็ประสบอุทกภัย  ฤดูร้อนก็ประสบความแห้งแล้ง

ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ได้ปรับตัวฟื้นฟูสร้างพื้นที่ยังชีพขึ้นในชุมชนหมู่บ้าน  ซึ่งมีพื้นที่ยังชีพแม้จะประสบอุทกภัย  โดยสร้างภูมิปัญญา

ปลูกผักสวนครัวยกพื้นจากระดับน้ำท่วมถึง  การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านไว้เป็นอาหาร  การเปลี่ยนรูปแบบการสร้างที่อยู่อาศัย  ให้อยู่อาศัยได้ในช่วงที่มีอุทกภัย

มีน้ำหลากพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน

ซึ่งกระบวนการที่พบได้ คือ  รวมตัวกันคิด เราจะอยู่ยังไงในสภาพที่ยากลำบากเช่นที่ผ่านมา ให้ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่เดิมของบรรพบุรุษ

สามารถอยู่ได้โดยไม่พึ่งพาภายนอกชุมชน  เมื่อมีรวมตัวกันคิด  การกระทำเพื่อแก้ปัญหา เพื่อสร้างทางออกจึงเริ่มตามมาอย่างมีส่วนร่วม

เป็นตัวอย่างชุมชนที่เป็นต้นแบบอีกชุมชนหนึ่งในการป้องกันและลดภัยพิบัติ