วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

 

ในประเทศที่เสพติดอำนาจนิยม มักจะมีการออกระเบียบกฎหมายขึ้นมาบังคับประชาชนเพิ่มขึ้นจากปกติที่กฎหมายเดิมได้ใช้ไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ด้วยระบบกลไกหรือศักยภาพทางกฎหมายในการขับเคลื่อนไม่ได้นำสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น ผู้บริหารมักจะมีการประกาศใช้กฎหมายเพิ่มขึ้น

แต่หากพิจารณาจากประเทศต้นแบบที่ได้ชื่อว่า เป็ประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เรียกว่า “Zero Tolerance” หรือ “มาตรการปราณีอยู่ที่ศูนย์” ที่จะไม่ประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีความเห็นอกเห็นใจประการใด  ก่อให้เกิดวัฒนธรรมไม่ยอมรับไม่อดกลั้นต่อการละเมิดกฎหมาย ที่เป็นวัฒนธรรมได้ก็เพราะมีความเห็นร่วมว่าไม่มีใครเสียประโยชน์หากจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย

ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความเข้าใจในการออกกฎหมายขึ้นบังคับใช้ โดยออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับโดยไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างแต่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ดังเช่น การป้องกันการระบาดของไวรัส Covid- 19 รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีมาตรการ

1.ห้ามประชาชนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวที่อยู่ในเคหะสถานเดียวกันพบปะกันไม่ว่าจะเป็นในสถานที่สาธารณะ รวมไปถึงในที่พักส่วนตัว และจำนวนนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ไม่เว้น

2.ไม่ปิดซุเปอร์มาร์เก็ต ตลาด ร้านอาหาร คลีนิก โรงพยาบาล ภาคขนส่งโลจิสติก ขนส่งสาธารณะ และภาคธนาคารยังเปิดตามปกติ ขณะที่ร้านอาหารนั้นต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น แต่ยังสามารถนำภาชนะของตัวเองมาซื้ออาหารและเครื่องดื่มได้ โดยในช่วงการจับจ่ายใช้สอยก็ต้องใช้วิธี Social Distancing โดยยืนมีระยะห่างอย่างเข้มงวด

3.บริษัทต้องให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน บริษัทใดที่ฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษไม่ว่าจะเป็นพักทำการหรือปรับเงิน โดยยกเว้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้จริงๆ และให้เงินชดเชยค่าจ้างให้กับพนักงานจากรัฐบาลเป็นจำนวนสูงถึง 75%

4.ปิดสถานศึกษาให้เรียนที่บ้านผ่านระบบออนไลน์

จะเห็นได้ว่า เขามุ่งเน้นเฉพาะ มาตรการระยะห่างทางสังคม และปิดที่สถานที่ทำการทั้งรัฐและเอกชนหากสามารถทำงานที่บ้านได้  และมาตรการ 1-4 ในหลายๆ ประเทศก็ทำกันรวมทั้งประเทศสารขัณฑ์ แต่ไม่เพียงแค่นั้นมีการประกาศใช้กฎหมายที่เพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบังคับประชาชนโดยใช้ดุลยพินิจ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548) แม้จะมีพื้นที่ปฏิบัติการเฉพาะในช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น.  และบนถนนหนทางทั่วประเทศ

อยากจะขำกับมาตรการ แต่ก็ขำไม่ออก เพราะ

1.เจ้าหน้าที่บางพื้นที่วางแผนโชว์ผลงานเอาหน้าเอาผลงาน ในชนบทตอนเที่ยงคืนก็ซุ่มไปตรวจจับ ซึ่งก็ไม่ใช่ผู้ที่มาตั้งวงดื่มสุราในที่สาธารณะ ลักลอบเล่นการพนัน รวมกลุ่มขับขี่รถจักรยานยนต์ และเสพยาเสพติด  แต่กลับเป็นคนไปหาเลี้ยงชีพตอนกลางคืน https://www.nationtv.tv/main/content/378769014/ หรือ แม้แต่ส่งยาให้โรงพยาบาลยังโดนจับ ศาลบอกต้องพักในช่วงห้ามออกนอกบ้าน https://www.sanook.com/news/8075398/

2.ประสิทธิผลกับความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรอง   แต่ผลเสียทางเศรษฐศาสตร์นั้นมากมาย แต่กลับไม่มีการพบผู้ป่วยจริงบนถนนสักราย

การสร้างกฎหมายต้องไม่ปล้นโอกาสในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (ในหมู่บ้านชนบท กลัวเขาแพร่เชื้อให้ผึ้งหรา) ไม่นำทรัพยากรของประชาชนไปใช้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

———————————–///////////////————————————