ถ้ามองอย่าไม่พินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงในประเทศไทย ก็คงคล้อยตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญการจัดการภัยพิบัติที่กล่าวว่า “ถ้าเอาในทางหลักการและทฤษฎี ผู้นำที่จะนำในภาวะวิกฤตได้ดี ต้องนำไปในภาวะที่ไม่ใช่วิกฤตได้ดีก่อน สร้างความเชื่อมั่นให้ดีในภาวะปกติ ให้คนทุกระดับมั่นใจว่าคุณสามารถคิดเพื่อทุกคน ตั้งแต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น” https://themomentum.co/interview-tavida-kamolvej/?
ก็ใช่นะครับถ้ามองเผินๆ แต่ในประเทศเรานั้นในภาวะวิกฤตหลายๆ วิกฤต ผู้นำในภาวะปกติตกม้าตายในภาวะวิกฤติเกือบจะร้อยละ 90 ดังเช่น ผู้บริหารกรมต่างๆ นับสิบกรม (กรรมการใน ศบค.) ที่เป็นผู้นำในภาวะปกติมาอย่างดี แต่เมื่อมาเผชิญสถานการณ์วิกฤตในช่วงนี้ (2563) แทบจะหลุดไปนั่งอยู่หลังห้องคอยชะเง้อมองลอกข้อสอบเพื่อนไปวันๆ
แล้วมันหลัการและทฤษฎีอะไร ที่สรุปว่า “ผู้นำที่จะนำในภาวะวิกฤตได้ดี ต้องนำไปในภาวะที่ไม่ใช่วิกฤตได้ดีก่อน” ทั้งๆ ที่ในภาวะปกติ ผู้บริหารในประเทศที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จะมีเส้นทางเติบโตที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มากจากศิลปะในการทํางานทีมีอิทธิพลในการจูงใจคนอืนให้ร่วมกันปฏิบัติงานให้สําเร็จถึงร้อยละ 90 เพียงแต่จูงใจเจ้านายได้เท่านั้น
ผมพูดบนหลักการทฤษฎีอะไรหรือ ผู้นำในภาวะวิกฤติจะต้องเติบโตสั่งสมประสบการณ์มาจาก 2 ประเด็นอย่างยาวนานพอสมควร คือ
1.กล้าคิดและกล้านำเสนอ
ความกล้าคิดกล้านำเสนอ นอกจากจะเป็นการแสดงความตั้งใจในการทำงาน แล้วยังเป็นการแสดงออกว่ามีความต้องการให้งานออกมาดียิ่งๆ ขึ้น ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่เป็นผู้นำ นอกจากนั้นหากคุณสามารถแสดงออกได้ว่างานยากหรืองานใหญ่ไม่เคยหวั่น มีสิ่งที่เรียกว่า Can Do Attitude คนก็จะเห็นว่าเราเป็นคนที่ชอบความท้าทาย และไม่หวั่นเกรงต่อปัญหาใดๆ เป็นโอกาสแสดงซึ่งศักยภาพและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
แล้วที่เห็นสลอนมาเป็นผู้นำ คิดเป็นได้ด้วยหรือเติบโตมาจากเต้นตามคำสั่งนาย ความท้าทายมีด้วยเหรอ ไม่กลัวประชาชนตำหนิแม้แต่นิดเดียวกลัวนายตำหนิจนหัวหายอยู่ในรูก้น(รูทวาร)
2.แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบ
คนที่เป็นผู้นำที่ดีต้องมีความรับผิดชอบ คือทั้งรับผิดและรับชอบ ทั้งเรื่องของงานและเรื่องส่วนตัว เรื่องส่วนตัวร้อยละร้อยผู้นำไทยได้คะแนนเต็มร้อย สามารถรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย(นายสั่ง)ได้อย่างดี รวมถึงคนที่สามารถจัดการกับปัญหาในที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ความรับผิดชอบในเรื่องงาน บางคนในชีวิตแทบจะไม่ได้สัมผัสความรู้สึกขับเคลื่อนผลสัมฤทธิหรือคุณค่าขององค์กรตนเอง ว่าให้คุณค่าอะไรแก่ประชาชนผู้เลี้ยงดูชีวิตตนเอง
——————-/////////———————–