แม้ส่วนใหญ่แล้ว ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นในพื้นที่ขนาดย่อมๆ ไม่ใหญ่นัก การจัดการภัยพิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ได้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบไว้ ซึ่งจากการปฏิบัติงานดังกล่าว
แยกลักษณะการปฏิบัติออกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะงานประจำ ที่ดำเนินการตอบโต้ภัยพิบัติขนาดเล็กๆ
2. ลักษณะบูรณาการ ที่ต้องพึ่งพาการมีส่วนร่วมของหลายฝ่ายเข้ามาร่วมตอบโต้ภัยพิบัติที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
ในการดำเนินงานทั้ง 2 ลักษณะนั้น สิ่งที่นักจัดการภัยพิบัติจะต้องมีประจำใจของตนประกอบการดำเนินงานของตน 3 ประการ คือ
1) สร้างสวัสดิภาพสูงสุด
2) เคารพในเสรีภาพ
3) ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
จากการประเมินประสิทธิภาพของลักษณะงานการจัดการภัยพิบัติที่ผ่านมา พบว่า
1) ข้อที่หนึ่งผ่านเกณฑ์ครึ่งหนึ่ง ส่วนที่ขาดคือ การบริหารจัดการความเสี่ยง (ขาดส่วนสำคัญหลักๆ 2 ส่วน คือ การประเมินความเสี่ยงและการสื่อสารความเสี่ยง)
2) ส่วนข้อที่สอง บูรณาการ ประเมินให้ผ่านเกณฑ์ แต่การตอบโต้ และเตรียมพร้อมยังเพิ่งเริ่มนับหนึ่ง
——————————————–5555555——————————————