จุดออ่นของสังคมนิรภัย ผู้คนในสังคมมักจะมีลักษณะต่างๆ ต่อไปนี้ ให้เห็นอย่างเด่นชัด ได้แก่
๑.มักอ้างปมด้อย
ไม่ค่อยกล้าที่จะยอมรับปมด้อย และมักเอ่ยอ้างปมด้อยเพื่อแก้ตัว หรือนำไปเป็นข้ออ้างที่จะไม่พยายามกำจัดปมด้อยเหล่านั้น ไม่พยายามพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่า เอาชนะจุดด้อยได้ มักใช้ปมด้อยไปในการให้คนอื่นเห็นอกเห็นใจ ภัยพิบัติในโลกนี้ ผู้ที่ได้รับเคราะห์มากที่สุดคือ ผู้ที่มักที่อ่้างปมด้อย ผู้ที่มักน้อยเนื้อตำ่ใจ
๒.รักศักดิ์ศรีมากเกินไป
โดยเอาศักดิ์ศรีเป็นที่พึ่งทางใจ ทำให้ขาดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง ประสานความร่วมมือที่จะพัฒนาตนเองและสังคม ภับพิบัติในโลกนี้ ผู้ที่ได้รับเคราะห์มากที่สุด คือคนที่รักศักดิ์ศรีจนไม่ลืมหูลืมตา ไม่สามารถมองเห็นได้ว่า ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือยอมอยู่ในสภาพอับตันเดิมๆ
๓.ความละโมบ
ทำให้เมื่อสบโอกาสมักจะเอารัดเอาเปรียบสังคมโดยไม่รู้ตัว เพื่อเอาตัวรอด ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสังคมนิรภัยผู้คนส่วนใหญ่ ต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมให้มาก ภัยพิบัติที่มีในโลกนี้ คนที่ได้รับเคราะห์มากที่สุดคือคนที่ละโมบ ไม่คำนึงถึงแม้ความปลอดภัย ยอมเสียเวลา เสียทรัพย์สินเงินทองเล็กๆน้อยๆเพื่อความปลอดภัยก็ไม่ยอม มีทัศนคติที่ว่าขอแค่ไม่เป็นโทษมากนัก หรือมีผลร้ายไม่ปรากฏฉับพลันทันทีก็พร้อมที่จะลุย คนรวยที่ช่วยเหลือในยามภัยพิบัติ โดยใช้เงินกับชื่อ สุดท้ายก็จะแปรเป็นผลประโยชน์ การบริจาคถือเป็นการลงทุน ทำเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์
๔.มักทำอะไรสุดโต่ง
ซึ่งส่วนใหญ่สังคมไทยมักจะมีความอ่อนแอแบบสุดขั้ว หลบเลี่ยงหรือไม่ต่อต้านถ้าตัวเองจะเดือดร้อน หรือจะลำบาก ไม่คิดว่าตนเองจะเดือดร้อน ลำบากมากขึ้นจากการเพิกเฉยนั้น
๕.อยากเป็นเศรษฐ๊ใหม่
ขอให้ได้เงินมา โดยที่ตนเองไม่ต้องเสี่ยงเข้าคุกเข้าตาราง แม้จะรู้ตัวว่าตนเองเอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือเอาเปรียบสังคมก็ตาม
๖.ขยาดความจน
มักจะนำเอาสิ่งที่ดูดีที่สุดมาไว้ภายนอกไว้อวดไว้โชว์คนอื่น ไม่มีแบบแผนทางเศรษฐกิจในการดำเนินชีวิต จะไม่สามารถทนประหยัดได้เลย มักมองแค่ผลลัพธ์ เคลิบเคลิ้มในผลประโยชน์จอมปลอม และมักมองข้ามความเสี่ยงต่างๆเสมอ
————————————————————-99999999999999999999—————————————————————