วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ผลจากการประสบอุทกภัยเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ภาครัฐได้มีแนวทางและมาตรการใหม่ในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถดำเนินงานหรือให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง  ไม่สะดุดหยุดลง แม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์หรือภัยพิบัติต่างๆ

รัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.จัดทำมาตรการและแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ให้ทุกหน่วยงานของรัฐได้นำไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการและมาตรการแนวทาง ดังนี้

ขั้นตอน

๑.การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับส่วนราชการ

๒.การเตรียมความพร้อมของส่วนราชการ

๓.การซักซ้อมแผนและนำไปปฏิบัติจริง

๔.การส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

 

แนวทางการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่อสภาวะวิกฤต

๑) แนวทางการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤต

๑.๑) ภายในช่วงเวลาแรก  จะเป็นช่วงของการตอบสนองต่ออุบัติการณ์  ซึ่งจะมีการอพยพ เคลื่อนย้ายทรัพยากรที่จำเป็น เป็นต้น

๑.๒) ภายหลังจากนั้น จะเป็นช่วงของการทำให้เกิดความต่อเนื่องของภารกิจ

๒) แนวทางการบริหารความต่อเนื่อง  ประกอบด้วย

๒.๒.๑) การบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง  โดยเป็นการกำหนดกรอบการดำเนินงานทั้งหมด

๒.๒.๒) การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร  โดยเป็นการระบุผลกระทบและความเสี่ยง  ระบุความเร่งด่วนของกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับระดับความสามารถที่ต้องการ

๒.๒.๓)  การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง โดยเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินกลยุทธ์เพื่อกู้คืนการดำเนินงานให้ปกติโดยเร็ว

๒.๒.๔) การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน

๒.๒.๕) การทดสอบ ปรับปรุงและทบทวนแผน

๒.๒.๖) การปลูกฝังการบริหารความต่อเนื่องให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

 

ดาวน์โหลด  เอกสารประชุม