ปัจจุบันเรามาถึงยุคที่การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว จำเป็น(Needs)จะต้องใช้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการต่างๆเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่น่าเสียดายนักกับประชาชน เพราะว่า….โครงการต่างๆมุ่งที่เรื่องต้นทุนการควบคุมความเสียหายเท่านั้น ละเลยโครงการเพื่อสร้างความยั่งยืนของสังคม
เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ผู้เขียนเห็นว่า ….. ความสำเร็จจะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการมองปัญหาร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
- ภาครัฐ ยังคงดำเนินงานโดยขาดการมีส่วนร่วม แบบ WANT มากกว่า NEED
- ภาคเอกชน ยังมุ่งค้ากำไรเกินควร CSR เป็นภาพลวงตา
- ภาคประชาชน แบกรับแรงกดดันนานาประการ เพราะขาดแนวทางการปรับตัว ปรับตัวไม่ทัน
สภาพการณ์เช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ทั้ง ๓ ส่วนดังกล่าวมองร่วมกันในลักษณะ “ศิลปะแห่งความอยู่รอด” ทั้ง ๓ ภาคส่วนดังกล่าว ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- ภาครัฐ จะต้อง….สร้างอำนาจหรือสถาปนาอำนาจของคนไร้อำนาจ
- ภาคเอกชน จะต้อง……ตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับ “ขีดจำกัด”
- ภาคประชาชน จะต้อง…..เลิกอยู่ภายใต้อำนาจระบบทุนนิยมและตลาดเสรี
ที่ผ่านมา ไม่แน่ใจว่าภาครัฐ มีผลประโยชน์กับพลังกลไกตลาดเสรี/ระบบทุนนิยมหรือเปล่า …..ประชาชนแบกจนหลังแอ่น ไม่ถึงกับสถาปนาอำนาจก็ได้ขอเพียงปกป้องคุ้มครองให้มีประสิทธิภาพ พอใจแล้วครับ…..
ที่ผ่านมา ไม่เข้าใจว่าพัฒนาให้มีความเจริญยังไง คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง แถมทำให้คนจนต้องพึ่งพิงนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ที่คนรวยสร้างขึ้น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ของใช้ในชีวิตทั้งจำเป็นไม่จำเป็น แม้แต่พันธ์พืชที่ปลูกแล้วขยายพันธ์ไม่ได้ ภัยพิบัติที่ชุมชนจะได้รับจะมากมายแค่ไหน มีมลภาวะทั้งๆใกล้ตัว ไปจนถึงบรรยากาศ สภาพภูมิอากาศที่ไน่แน่ไม่นอน ร้อนก็ร้อน หนาวก็หนาวผิดจากที่เคยรับรู้ ที่เคยชิน ฝนตกแป็บเดียว น้ำท่วม เอ่อล้นตลิ่ง หรือจากท่อระบาลยน้ำ
ต่อไป ชุมชนหมู่บ้าน ประชาชน จะต้อง …..
๑. ต่อต้านหรือลุกขึ้นสู้ เพื่อยับยั้งการคุกคาม อันเกิดจากการกระทำของรัฐ และระบบตลาดเสรีของทุนนิยม
๒. กลับคืนสู่รากเดิมของวัฒนธรรมพื้นบ้าน สร้างระบบเศรษฐกิจบนฐานขอบเขตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
00000000000000000000000000