วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยในจังหวัดมหาสารคามประสบปัญหาภัยแล้ง ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝน โดยราษฎรได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายอำเภอ

และขณะนี้ ก็ได้เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ทุกอำเภอ ทั้ง 13 อำเภอ  ผมจึงมองสถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัด ดังนี้

สถานภาพ

1. ทุกๆปี มีราษฎรได้รับผลกระทบ 120,972 คน

2. มีหมู่บ้านแล้งซ้ำซาก 1,815 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 1,944 หมุ่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 97 % ของจังหวัด

3. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียปีละประมาณ 410,000 ไร่

ศักยภาพ

1. จังหวัดมีสถิติข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลายๆแห่ง สะท้อนให้เห็นถึง ภัยคุกคามจากปัญหาภัยแล้งอย่างชัดเจน

2. รัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหาภัยแล้ง และกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ข้อจำกัด

1. จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวนแหล่งน้ำผิวดินน้อย คิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ ต่อพื้นที่การเกษตรของเกษตรของจังหวัด

2. ต้นทุนในการนำน้ำที่มีตามแหล่งธรรมชาติ เช่น แม่น้ำชี และแหล่งน้ำใต้ดินมีต้นทุนสูง

3. ในจังหวัดขาดชมรมหรือสมาคมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหรือทรัพยากรป่าไม้

4. คุณภาพแหล่งน้ำใต้ดิน ไม่ค่อยเหมาะสมในการนำมาใช้โดยตรงได้

แนวโน้ม

1. ในอนาคตมีแนวโน้มที่จังหวัดมหาสารคามจะมีปริมาณน้ำฝนลดลง และไม่เป็นไปอย่างคงที่สม่ำเสมอ

2. ในอนาคตจังหวัดมหาสารคามจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น ทำให้เพิ่มการระเหยของน้ำ และมีการลดลงของมณฑลน้ำผิวดิน

3. ผลกระทบของภัยแล้งจะขยายเพิ่มขึ้น ทั้งด้านประเภท เช่น อาจมีผลกระทบด้านโรคระบาด ด้านฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาวและในในฤดูฝน ก็จะมีผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง

ทางเลือกเชิงกลยุทธ์

1. ต้องมีการบูรณาการเชื่อมโยงแหล่งน้ำให้เป็นเครือข่ายระหว่างจังหวัดหรือลุ่มน้ำ ภายใต้กลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว

2. สร้างเครือข่ายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ

3. ดำเนินยุทธศาสตร์วัฏจักรน้ำ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนน้ำในระบบ ทั้งด้านนิเวศและการอุปโภคบริโภคของประชาชน (ให้มีต้นไม้ดูดน้ำไปใช้และการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ เช่น อปท.ใช้รดต้นไม้ ล้างถนน ดับเพลิง)

4.สนับสนุนการนำน้ำใต้ดินมาใช้เพื่อการเกษตร

5. ดำเนินมาตรการประหยัดน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน

6. สนับสนุนเงินทุนหรือเงินอุดหนุนการปลูกพืชท้องถิ่น พืชใช้น้ำน้อยหรือการทำการเกษตรอินทรีย์

7. เปลี่ยนพันธ์พืชให้เหมาะสมกับภาวะแห้งแล้ง หรือ เปลี่ยนเทคนิคการเพาะปลูกพืช

8. ส่งเสริมการปรับตัวของการใช้ที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรดิน

9. กำหนดมาตรการอนุรักษ์ฟื้นฟู ต้นไม้ริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง

10.เข้มงวดการใช้ที่ดินตามผังเมืองรวม และดำเนินการปรับปรุงผังเมืองรวม

xxxxxxxxxxxxx

Search