วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติ

ปล่อยให้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติถาโถมเรายิ่งขึ้น ด้วยมรดกของเผด็จการรัฐราชการ ภายใต้การปกครองแบบกึ่งทาสกึ่งเท่าเทียม สภาพแวดล้อมไม่เพียงด้านทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในด้านสังคม เราก็ไม่มีใครทำให้เราคิดได้ ไม่ว่าจะนักวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ และนักวิชาการที่ได้ชื่อว่าอิสระก็ตาม แม้เราอาจจะไม่ต้องการวิธีการที่ซับซ้อนมากนัก เพียงเรื่องเล่าซื่อๆ  ตรงๆ ก็มีน้อยเต็มที ทำให้เราลืมเลือนความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติ

เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นที่ยินดียิ่งที่มีนักวิชาการได้พัฒนาทฤษฎีความจำขึ้นจากแนวคิดเรื่องนัยยะของ Michael Rothberg โดยเน้นไปที่การผลิตทางวัฒนธรรม ที่คนธรรมดามีวิธีการต่างๆ ที่จะเข้าไปพัวพันกับความอยุติธรรมในอดีต ปัจจุบัน และโครงสร้าง และวิธีที่พวกเขาสามารถเกี่ยวข้องในการคงอยู่ต่อไปได้ รวมทั้งผู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมาย

เป็นที่น่ายินดีที่จะเกิดมุมมองในการล้มล้างเผด็จการรัฐราชการขึ้นอีกแนวทางหนึ่ง

แนวทางการศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบวิธีการที่ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม มีส่วนร่วมกับปัญหาทางจริยธรรมของการสมรู้ร่วมคิด ความรู้สึกผิด และความรับผิดชอบที่เผด็จการสร้างขึ้นในการเป็นตัวแทนของเผด็จการในอดีต ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมสร้างและแก้ปัญหาแนวคิดของเหยื่อ ผู้กระทำความผิด ผู้ได้รับผลประโยชน์ ผู้ยืนดู ผู้ร่วมงาน และหัวข้อที่เกี่ยวข้องอย่างไร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจะช่วยให้เราคิดเกี่ยวกับวิธีที่ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในระบอบเผด็จการได้อย่างไร ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ผลงานที่ขัดเกลาทางสุนทรียะเพื่อตั้งคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกับอดีตมีอะไรบ้าง โดยการเข้าถึงประเด็นเหล่านี้ในระดับโลก เปรียบเทียบ

ในระดับปัจเจกบุคคลหรือตัวเราตัวท่านจะมีมุมมองอย่างไรในการสถาปนาความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติ

มีแนวทางเดียวคือ นั่งนึกนอนนึก ตีลังกานึกว่าตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในอาชญากรรมทางภัยพิบัติกับพวกรัฐเผด็จการอย่างใดบ้าง (สถาปนาความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติ) ดังตัวอย่างการเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนี้

1.การรับตำแหน่งผ่านการแสดงภาพทางวัฒนธรรม (เช่น เหยื่อ ผู้กระทำความผิด ผู้ได้รับผลประโยชน์ ผู้ยืนดู ผู้ร่วมงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง)

2.การแสดงความรู้สึกผิดชอบต่อเผด็จการรัฐราชการ (อะไรที่เกินไปจากการเสียภาษีทั้งหลายทั้งมวล)

3.สืบสานต่อหรือร่วมสถาปนาความรับผิดชอบข้ามรุ่นต่อเผด็จการรัฐราชการ

————xxxxxxxx——————–