ความพยายามในการลดจำนวนศพ ลดจำนวนผู้พิการ ลดจำนวนผู้ที่บาดเจ็บบนท้องถนน ตราบใดที่เรายังมีผู้ควบคุมรถยนต์ที่เป็นมุษย์ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีวันที่จะสำเร็จ หากแต่เมื่อใดที่เราใช้ยานยนต์ที่ไร้คนบังคับ เมื่อนั้นเราจะมีความสุขในการสัญจรไปไหนมาไหนด้วยรถยนต์หรือพาหนะอื่นๆ
จากสภาพปัญหาปัจจุบัน เป็นสภาพที่ร้ายแรงแต่ไ้ร้ความสนใจไร้พลังที่จะปรับเปลี่ยน ด้วยเป็นปัญหาระดับปัจเจกบุคคล
สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของโลก
การบาดเจ็บเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เสียชีวิต พิการและก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจละสังคมทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 3,000 คนคาดการณ์ว่าระหว่าง พ.ศ.2543-2563 ประเทศที่มีรายได้สูงจะมีการเสียชีวิตจากการจราจรลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางถ้าปราศจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
จากรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนขององค์การอนามัยโลกพ.ศ. 2558รายงานว่าในแต่ละปี ประชาชนทั่วโลกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนประมาณ 1.25ล้านคน หรือกว่า 3,400 คนต่อวัน และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรอายุ 15-29 ปี เพศชายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าเพศหญิง เกือบ 3 เท่า นอกจากนั้นมีประมาณ 20-50 ล้านคนที่รอดชีวิต แต่มีความพิการตามมา หากไม่มีการวางแผนการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศที่
ยากจนถึงปานกลางจะสูงขึ้นเป็นสองเท่าในปี ค.ศ.2020(พ.ศ.2563) และสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยเฉลี่ยในแต่ละปีเท่ากับ 3% ของ GPD โดยความสูญเสียดังกล่าวอาจสูงถึง 5% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง
สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยองค์การอนามัยโลกรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก(Global Status Report on Road Safety, 2015) รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของโลก พ.ศ.2556 จากการสำรวจ 180ประเทศทั่วโลก พบว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นคิดเป็นอัตรา17.3 ต่อประชากรแสนคน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราตายเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้และจากรายงานดังกล่าวได้ประมาณการว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราตาย 36.2รายต่อแสนประชากร (ประมาณ 24,237คน)และประเทศไทยยังเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอาเซียนที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด
ช่องว่างที่ไร้ทางขยับ
สิ่งที่เป็นอยู่ |
ช่องว่าง |
ที่ควรจะเป็น |
ภาคส่วนต่างๆ บูรณาการแบบไม่มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ |
สร้างผลลัพธ์ที่ไร้คุณค่า |
ตอบสนองต่อข้อมูลในรูปแบบค่าตั้งต้น(default) ที่ทุกภาคส่วนต้องขจัดให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว |
มุ่งดำเนินการแก้ไขภาพรวมในอดีต |
ความเสี่ยงไร้การควบคุมอย่างเป็นระบบ |
ตอบสนองอย่างเป็นระบบต่อการประเมินความปลอดภัยของนิเวศบนท้องถนน |
ดำเนินการภายใต้ระบบกีดกันทางสังคม |
การรับรู้ด้วยการสื่อสารที่ไร้คุณค่าต่อการสุขภาวะบนท้องถนน |
การสื่อสารทางสังคมที่ให้คุณค่าเพื่อปรับตัว พัฒนาตนเอง พัฒนานิเวศบนท้องถนน |
การขัดเกลาทางสังคมเป็นไปเพื่อสร้างฆาตกร |
จำนวนผู้มีพฤติกรรมของฆาตกรบนท้องถนนเพิ่มขึ้นทุกปี |
มีระบบการขัดเกลาทางสังคมที่สร้างพลเมืองที่ดี |
00000000000000000000000000000