วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้บรรจุเรื่อง การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non-motorized transport : NMT) ให้มีความปลอดภัยและเชื่อมกับระบบขนส่งสาธารณะได้สะดวก พัฒนาระบบขนส่งสา่ธารณะ และเน้นโครงสร้างพื้นฐานให้เป็น Univerversal Design

โดยแผนฯ ได้วางเป้าหมายไว้ ดังนี้

1. พัฒนาทางข้าม ทางเท้า และทางจักรยานในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ

2. สร้างมาตรฐานและคุ้มครองความปลอดภัยของผู้สัญจรทางเดินเท้าและผู้ใช้จักรยานในเขตเมือง

3. เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในภาพรวม

ประเมินศักยภาพของแผนฯ ในเรื่องนี้

1. พลังเครือข่าย มีการขับเคลื่อนในหลายๆ องค์กร ได้แก่ อปท. สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน และผู้นำตามธรรมชาติ

2. ปัญหาอุปสรรค

2.1 อปท. การกำหนดนโยบายสนับสนุนการใช้ยังได้รับการต่อต้านจากคณะผู้บริหาร  ทำให้ผู้นำการบริหารในหลายๆ พื้นที่ไม่กล้าตัดสินใจ  ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นปัญหาที่คณะผู้บริหารมองว่าไม่คุ้มทุนแล้ว ผู้นำการบริหารยังขาดความรู้ความเข้าใจหรือขาดการศึกษาโครงการเพื่อชี้แจงให้เห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการ ดำเนินมาตรการจูงใจ

2.2 สถาบันการศึกษา ด้วยปัญหาความขัดแย้งในการบริหารงานทำให้ สถาบันการศึกษาทำได้เพียงการศึกษาวิจัยประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำผลการศึกษา/องค์ความรู้ไปผลักดันให้ชุมชน ให้อปท.ดำเนินการอย่างกระท่อนกระแท่น ซึ่งต้องผลการศึกษาต้องมีการทดลองปฏิบัติ การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ก่อนที่จะนำไปเป็นตัวอย่างรูปแบบการปฏิบัติที่ดี

2.3 ภาคเอกชน กิจการขนาดใหญ่ได้ให้การสนับสนุนทั้งทุน การจัดกิจกรรมสนับสนุน(สสส.ดำเนินการจัดกิจกรรมในหลายๆพื้นที่ เช่นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี “ศุกร์ เสาร์ สร้างสรรค์ เดินปั่น สนั่นเมือง” แต่ในวิถีชีวิตจริงก็ยังไร้วี่แววที่จะมีการพูดคุยให้เกิดขึ้น)  การกระจายข่าวสาร รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.4 ภาคประชาสังคมและชุมชน ในบางพื้นที่องค์กรพัฒนาเอกชนได้เข้าไปกระตุ้นแนวคิดให้กับคนในชุมชนให้มีการใช้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังแทบไม่มีการรวมตัวของประชาชนผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบาย

2.5 ผู้นำตามธรรมชาติ มีผู้นำลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  แต่ก็แทบจะไม่สามารถโน้มน้าวให้เกิดการทำตามมากนัก และส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัย “กระบวนการทางสังคม” ให้เข้ามาช่วยกระตุ้นแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนวิถีชีวิต

—————–4444444444——————–