วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การประเมินสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระเบียบกฎหมายที่กำหนดให้เป็นความรับผิดของรัฐในการที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติจะต้องได้รับการเคารพ (Respect) ปกป้อง (Protect) และเติมเต็ม (Fulfill) ตามสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่ครอบคลุม ในกรณีต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ดำเนินการไปมากน้อยแล้วแต่วิสัยทัศน์ของตนเองและผู้บังคับบัญชาตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตนเอง ดังนี้

1.สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ (Rigth to Life)

ประเทศไทยดำรงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะมีชีวิตอยู่ ในระยะเร่งด่วนเท่านั้น ที่ภาครัฐได้ดำเนินการทุกวิถีทางภายในอำนาจของตนที่จะปกป้องชีวิตของประชาชนจากภัยอันตรายทั้งปวง แต่การดำเรงรักษาความปลอดภัยและความเป็นอยู่อย่างปกติสุขยังไม่มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนพอที่จะเห็นได้ว่าจะประชาชนจะได้รับสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ ภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพในการเตรียมความพร้อมและเพิ่มเพิ่มพูนสมรรถนะให้กับทุกภาคส่วน

2.สิทธิด้านอาหาร (Right to Food)

ประเทศไทยในระยะ 50 ปีนี้จะยังคงไม่ได้มีปัญหาในการให้ความช่วยเหลือด้านอาหารให้เพียงพอต่อการดำเรงชีพ มีปัญหาเพียงการไม่เคารพต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการฉ้อฉลฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากการให้ความช่วยเหลือ ด้วยการนำอาหารผิดประเภท อาหารด้อยคุณภาพ ไปให้การช่วยเหลือ อันเป็นการซ้ำเติมผู้ประสบภัยพิบัติในการกดขี่ และขาดความเข้าใจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติของหน่วยงานภาครัฐ

3.สิทธิด้านน้ำ (Right to Water)

ในระยะเวลา 100 ปี ภาครัฐของไทยจะยังคงมีประสิทธิภาพในการจัดหาน้ำสำหรับการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเพียงพอ อาจจะขาดแคลนในบางห้วงเวลาหนึ่ง เนื่องจากการขนส่งอาจจะจำกัดเฉพาะทางใดทางหนึ่งเท่านั้น

4.สิทธิการมีที่อยู่อาศัย

กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้พัฒนาศูนย์พักพิงชั่วคราวขึ้นเพื่อให้เป็นไปมาตรฐาน (รายละเอียด คลิก) แต่ก็ยังขาดแนวทางในการช่วยเหลือให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการถาวรในระยะต่อไป ขณะนี้ก็อาศัยเพียงความใจบุญขององค์กร ธุรกิจ มูลนิธิต่างๆ เช่นกรณีเหตุการสึนามิที่ภาคใต้ปี 2547 องค์กร ธุรกิจ มูลนิธิต่างๆ ก็ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนหลายหมู่บ้าน