ความตระหนักถึงภัยพิบัติรอบตัว มีผลต่อการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ เนื่องจากความตระหนักหมายถึงความเข้าใจ ความรู้ประจักษ์ชัด เมื่อคนในชุมชนมีความเข้าใจ
มีความรู้ประจักษ์ชัดถึงภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้ลักษณะการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนต้องพยามปรับตัวให้มีลักษณะร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.ขบคิดปัญหาร่วมกัน
2.ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
3.ร่วมกันทำงานเชิงกลยุทธ์
4.ร่วมกันวางแผนงาน
5.มีความสนใจร่วมกันในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
ซึ่งหากชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถกล่าวได้ว่า ชุมชนมีการพัฒนาสมรรถนะในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ