สังคมที่ตั้งอยู่บนความยุติธรรม ธรรมาภิบาล และความเสมอภาค จะเป็นรากฐานที่นำพาไปสู่สังคมสมานฉันท์ เอื้อาทรและมีความปลอดภัยที่เข้มแข้ง
ในความเป็นจริง ความเหลื่อมล้ำก็ยังไม่กระจายอยู่ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดการภัยพิบัติ ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้กลไกตลาด แต่เป็นเรื่องที่สมาชิกในสังคมต้องร่วมกันตัดสินใจว่าต้องการให้สังคมมีความเท่าเทียมกันในระดับใด
ผ่านกลไกของประชาธิปไตยปรึกษาหารือหรือประชาธิปไตยทางตรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น ดังต่อไปนี้
1.การกระจายทรัพยากรในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งด้านงบประมาณ แผนงาน/โครงการ
2.การเพิ่มการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรชุมชนแทนการสั่งการจากภาครัฐ
3.การเพิ่มศักยภาพ/โอกาส
4.การปรับโครงสร้างอำนาจระหว่างผู้คนในสังคมให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ควรเน้นที่การเพิ่มความเท่าเทียมของโอกาส มากกว่าความเท่าเทียมด้านอื่นๆ เพราะแนวโน้มผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความเท่าเทียมด้านอื่นๆ จะเป็นศูนย์ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายทรัพยากร การเพิ่มการมีส่วนร่วม การปรับโครงสร้างอำนาจ
การเพิ่มโอกาส ประกอบด้วย
1.การให้เข้าถึงแหล่งทุน
2.การเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ
3.การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
——————————————฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿———————————————————-