วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลได้กู้เงินมาเกือบ 1.99 ล้านล้านบาท  โดยมีสี่แสนล้านบาทจะได้มีแผนงาน/โครงการไหลทะลักออกมาจากสิ่งที่ตั้งอยู่บนบ่าของข้าราชการของประเทศไทย  รวมทั้งตัวที่อยู่ในหลืบก็จะเริ่มออกมาวิ่งทำโครงการแผนงานกับข้าราชการ

แทะเล็มกันตามส่วนตามชั้นระดับต่างๆ  ทำให้โครงการต้องกลวงต้องขาด ประสิทธิภาพการใช้งานที่แทบจะไม่มีประโยชน์กับหมู่บ้านชุมชนแล้ว  ยังต้องมานั่งมองดูอายุการใช้งานที่น้อยนิด

หลายๆ หน่วยงานกำลังขมักเขม้นทำโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งรวมแล้วก็จะใช้เงินที่พวกเราจะต้องใช้หนี้หลายหมื่นล้านบาท แต่โครงการลักษณะใหม่ที่นำมาซึ่งความยั่งยืนมากกว่าลักษณะโครงการแบๆ เดิม ก็คงไม่มีให้เห็น  ซึ่งลักษณะโครงการซึ่งจะยั่งยืนต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะ 100 ปี  มีมรดกไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์จากการที่พวกเขาถูกเบียดบังโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้

1.ขุดหลุมในคลอง เพราะคลองที่ทำตามรูปแบบเดิมนั้น ไม่สามารถกักเก็บน้ำ้ไว้ใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี  จะต้องมีการขุดหลุมเป็นช่วงๆ ในคลองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ตลอดปี

2. เชื่อมหนองน้ำ ด้วยาสภพอากาศที่แม้จะมีปริมาณฝนตกในปริมาณเท่าๆ เดิม  ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก  แต่วันที่ฝนตกจะน้อยลงเรื่อยๆ  และตกไม่กระจายเต็มพื้นที่  จะเป็นลักษณะตกหนักในบริเวณเป็นหย่อมมากขึ้น  ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจะต้องมีการเชื่อมแหล่งนำ้เพื่อนำนำ้จากแหล่งที่กักเก็บไว้มากแล้วกระจายไปยังแหล่งน้ำ้ที่ไม่สามารถกักเก็บได้ในปีนั้นๆ

3. แหล่งน้ำประจำครัวเรือน ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในการส่งเสริมการใช้แหล่งน้ำในครัวเรือนมากขึ้น หลายหมื่นล้านบาทที่ถูกใช้โโยข้าราชการและพ่อค้านักธุรกิจจัดซื้อถังน้ำไปแจกจ่ายให้ชุมชน  แต่ร้อยละ 99 ถังน้ำเหล่านั้นแทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์  ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเงื่อนไข และกำหนดวิธีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าเงินให้มากขึ้น

4. สร้างแทงค์น้ำยักษ์ประจำชุมชน ทำระบบท่อและรางน้ำนำน้ำฝนที่ตกมาเก็บรวมไว้ใช้ประโยชน์  ออกแบบสร้างได้ทั้งบนดินและอาจออกแบบสร้างไว้ใต้ดินถ้าสร้างไว้บนดินก็ออกแบบบ่อพักน้ำ้แล้วสูบเข้าเก็บแทงค์น้ำ

———————/////////////////////////////////——————————-