วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สถาบันการปกครอง (สิ่งปฏิกูลทางประวัติศาสตร์) ของไทยมักจะกำหนดนโยบายสาธารณะ ที่ให้ประโยชน์กับสถาบันเป็นหลัก ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญคือประชาชนที่เป็นสาเหตุให้เกิดสถาบันการปกครองขึ้นได้นั้น  กลับถูกสถาบันการปกครองหักหลังไม่ให้ความสำคัญ

1.นโยบายการลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่อลดภาระงาน ภาระค่าใช้จ่ายของสถาบัน

2.นโยบายการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับสถาบัน (เอางานที่แต่ละหน่วยรับผิดชอบทำอยู่แล้ว                              มาพูดกันว่าทำไปเท่าไหร่ผลออกมาเท่าไหร่) เนื้อหาที่ดำเนินการไม่ได้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมศึกษา เรียนรู้  เพื่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงแนวคิด แนวปฏิบัติเชิงพฤติกรรมใหม่

3.นโยบายการบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่อรักษาความอ่อนแอของกฎหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์

4.นโยบายการควบคุมความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่อเอาตัวรอดทางการปกครอง

5.นโยบายการประชาสัมพันธ์ กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบัน/องค์กรภาคีเครือข่าย

นโยบายอื่นๆ มีเขียนไว้หนังสือราชการที่แจ้งให้ถือปฏิบัติ แต่การนำนโยบายไปฏิบัติ ไม่พบในพื้นที่

ที่สำคัญขาดการตรวจสอบ  ที่ตั้งสถาบันการปกครองที่มีหน้าที่ตรวจสอบ  กระบวนการหลักดำเนินไปเพื่อตรวจข้อบกพร่องในการปฏิบัติ                                                                        ไม่ได้ตรวจสอบประสิทธิผล  แต่การตรวจสอบประสิทธิผลกลับดำเนินการตั้งแต่ต้นทาง โดยสถาบันการปกครองที่ชื่อสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นการคาดเดาก่อนล่วงหน้า

 

————————–///////////////————————–