หน่วยงานกลางของรัฐด้านการจัดการสาธารณภัย ได้ดำเนินการจัดทำและเสนอ “แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน
โดยนำกรอบแนวคิด “การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย” และแนวทาง ” การฟื้นฟูที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม” มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
ทั้งนี้ ขั้นตอนการดำเนินการของแผนดังกล่าว มี 3 ระยะปฏิบัติ คือ
1.ชี้แจงกรอบแนวทางให้รับรู้/เข้าใจ
2.นำกรอบแนวทางไปใช้
3.ผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นและพัฒนาปรับปรุง
การชี้แจงกรอบแนวทาง มีการดำเนินการผ่านทาง มติ ครม. การสั่งการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามสายการบังคับบัญชาตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม
สำหรับการนำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 ไปใช้ มีการพิจารณา 3 ลักษณะ คือ
1.อยู่ในช่วงสถานการณ์ช่วงปลอดภัย
2.อยู่ในช่วงสถานการณ์เปราะบาง
3.อยู่ในสถานการณ์เผชิญควมเสียหายและได้รับผลกระทบ
เทคนิคการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ 3 ลักษณะดังกล่าวข้างต้น มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ
1.ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยง
2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
4.ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย