มีความจำเป็นต้องใช้ “จินตนาการ” ซึ่งเป็นการปรุงแต่งของจิต ที่ผ่านการรับรู้ผ่านอวัยวะ ปาก หู จมูก ลิ้น กายและใจ
สิ่งต่างๆเรื่องราวต่างๆเมื่อผ่านการสัมผัสก็เข้าสู่ “สมอง” เก็บบันทึกเป็นข้อมูล จากนั้นจิต ปรุงแต่งเป็นความรู้สึกนึกคิด
แสดงออกมาเป็นแนวคิดบ้าง การประพฤติปฏิบัติบ้างและที่สำคัญ การตอบสนองในภาวะฉุกเฉินหรือในภาวะอันตราย
เมื่อเราใช้จินตนาการประกอบ จะทำให้เราเกิดทัศนคติตามมา ในเหตุการณ์ทั่วไปก็จะเอนเอียงด้วยความชอบ ไม่ชอบ
แต่ถ้าท่านใช้จินตนาการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอุบัติภัย ท่านจะเกิดทัศนคติในการระมัดระวัง การป้องกันไว้ก่อนตามมา
เมื่อเรามีจินตนาการ ก็จะมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัย เช่น
๑. กรณีที่ตัวเองเป็นโรคลมชัก ก็จะระมัดระวังควบคุมตัวเองในการขับรถ ให้ขับในระยะสั้นๆ ขับเฉพาะที่จำเป็น
รู้ว่ามีอาการก็หยุดรถทันที
๒. อยู่อาศัยหรือใช้บริการในอาคารสูง อาคารสาธารณะขนาดใหญ่ ก็จะมีการสังเกตุสภาพแวดล้อมมากขึ้น
๓. โดยสารรถสาธารณะ เรือ เครื่องบินก็จะใส่ใจในวิธีการเอาตัวรอดมากขึ้น
๔. เป็นผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ ก็จะระมัดระวังในการบังคับควบคุมรถ ความพร้อมสุขภาพร่างการและสภาพแวดล้อม มากขึ้น ฯลฯ