จากบทเรียนการจัดการสาธารณภัยของหน่วยงานภาครัฐที่ผ่านมา โดยเฉพาะกรณีอุทกภัยครั้งใหญ่ปี 2554 เมื่อเกิดอุทกภัยขึ้นและจำเป็นต้องกั้นน้ำ หรือระบายน้ำเพื่อป้ องกันหรือบรรเทาภัยในเขตท้องที่หนึ่ง
ก็อาจต้องผลักภาระการรับน้ำไปยังท้องที่อื่น หรือเป็นเหตุให้น้ำในเขตท้องที่อื่นไม่อาจไหลระบายต่อไปได้ ดังเช่นที่การป้ องกันกรุงเทพฯ เป็นเหตุให้มีการผลักดันน้ำไปยังท้องที่รอบ ๆ กรุงเทพฯ และเป็นเหตุให้น้ำท่วมขังท้องที่ในจังหวัดใกล้เคียง เช่นนนทบุรี ปทุมธานี หรืออยุธยา เป็นเวลานาน
น่าสงสัยว่า ในเมื่อภัยน้ำท่วมเป็นภัยที่เราคาดเห็นได้ล่วงหน้า และได้มีการวางโครงสร้างพื้นฐานรองรับไว้แล้ว มีทั้งการก่อสร้างประตูระบายน้ำ มีการรวบรวมข้อมูล และจัดระบบแจ้งเตือนไว้อย่างดี เหตุใดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐบาลจึงไม่สามารถรับมือกับปัญหาจนเกิดลุกลามกลายเป็ นวิกฤติในที่สุด? น่าคิดว่าปัญหานี้ถึงที่สุดแล้ว เป็ นปัญหาที่โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ความรู้ไม่ถึง หรือปัญหาแบบแผนการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด หรือเป็นเพราะความบกพร่องของบุคลากร?
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นสังคมจะต้องร่วมกันประเมินความมีประสิทธิภาพของหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย หรือระเบียบบริหารงานของฝ่ายปกครองและการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการเผชิญเหตุเหล่านี้ว่าสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ นับตั้งแต่กระบวนการเตรียมการป้ องกัน การประเมินความเสี่ยง การประสานงาน การสื่อสาร และการบูรณาการความรู้และประสบการณ์ของสังคมและความร่วมมือในระดับนานาชาติได้ดีเพียงใดด้วย
————————————————————-77777777———————————————————-