การตัดสินใจเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์และความกล้าหาญอย่างยิ่ง การเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับสภาวการณ์ภัยพิบัติได้ จนไม่สร้างผลกระทบใดๆ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด ลำพังแค่กำหนดแผนหลักของชาติเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านทรัพยากร และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทศวรรษที่ผ่านมาก็พัฒนาหรือสร้างความเจริญให้เฉพาะกับหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และปัจจุบันเราก็ยังต้องใช้งบประมาณปีละหลายหมื่นล้านในการพัฒนาในลักษณะนี้ โดยส่วนหนึ่งหรือประมาณหนึ่งในสามก็เป็นฉากบังหน้าว่าดำเนินการโดยชุมชนโดยประชาชน
ข้อมูลทางวิชาการก็ยังสร้างความไขว้เขวไปว่าประเทศไทยขาดการเตรียมพร้อมในประเด็น ขาดนโยบายและแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจน ส่งผลให้ไม่มีการจัดทําแผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงานท้องถิ่น และไม่มีการจัดสรรงบประมาณไว้ใช้ยามฉุกเฉิน และเพื่อพัฒนาระบบป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งส่วนกลางใช้งบประมาณมหาศาล (ไม่นับรวมรูปแบบการทุจริตที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2548 – 2555 ที่ประเทศเสียหายนับหมื่นล้านบาท โดยไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาชดใช้/ลงโทษได้ ขณะนี้กำลังเริ่มดำเนินการเอาผิดเรื่องละเมิด ทั้งที่อีกไม่กี่วันก็จะขาดอายุความแล้ว) หน่วยงานท้องถิ่นก็ตั้งงบประมาณ 3 ปี ไว้ทุกแห่ง แต่การอนุมัติใช้ในแต่ละปี ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่ก็ไม่มีการใช้ในการดำเนินการใหญ่ๆ ใช้ไปกับการฝึกอบรม การดับเพลิง การช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน
จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาในประเด็นดังต่อไปนี้ให้เกิดขึ้นอย่างเพียงพอที่จะให้ผู้บริหารตัดสินใจดำเนินการใดๆ ในการรับมือและจัดการสภาวการณ์ภัยพิบัติ คือ
1.แผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมที่ตรงเป้าหมายที่สุด แม่นยำที่สุด
2.มีความลงตัวสูงสุด
3.ให้ประโยชน์สูงสุด
4.ดีขึ้นโดยลำดับจากในอดีต
หากการดำเนินการที่ดำเนินมาไม่สามารถที่จะเข็ญให้เป็นไปตาม 4 ข้อนี้ ก็ควรจะยกเลิก แล้วไปดำเนินการอย่างอื่นให้เร็วที่สุด
เครดิตภาพ : Big motor sale 2019 ไบเทค บางนา
———————555555555——————-