ประเทศไทยจัดการกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติกันอย่างไร เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ในระดับโลกนั้น เขามองการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเห็นว่าประเทศต่างๆมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความเสี่ยงได้ในอนาคตถึง 15 ปี
ทั้งนี้ การกล่าวข้างต้นอ้างอิงจากรายงานการประเมินของสหประชาชาติ ในปี 2558 (Global Assessment Report (GAR) 2015)จัดทำโดยสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ(the United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNISDR)) พบว่าในแต่ละปี ภัยพิบัติได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้าน ถึง 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีการคาดการณ์ว่ามีการจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติประมาณ 6 ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี
ถ้าดูการดำเนินการในประเทศไทย ในแต่ระดับได้มีการดำเนินการอะไรบ้าง
1.ระดับนโยบาย
ให้ความสำคัญในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งในส่วนที่เป็นการสร้างผลงานและที่สำคัญในส่วนใต้โต๊ะก็ยังขยายความรุ่งเรืองของกิจการได้มาก หลายหมื่นล้าน
2.ระดับหน่วยงานภาครัฐ
2.1 หน่วยงานส่วนกลาง
1)อุดมการณ์/ทัศนคติ ที่ประกอบการขับเคลื่อนเป็นแบบธุรกิจเอกชน
2) งบประมาณ ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นในแต่ละปีเป็นจำนวน แต่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับมุ่งเน้นการจัดซื้อเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ (มีความสมเหตุสมผล/ข้ออ้างในการหาตังค์ทอนชั้นดี) โดยไม่เหมาะสมกับความจำเป็น เช่น การจัดซื้อรถดับเพลิงอาคารสูงไปดูแลอาคารสูงเพียง 4-5 แห่ง ฟังดูตัวเลขดูจะสมเหตุสมผล แต่ข้อเท็จจริง แต่ละแห่งห่างกัน เฉลี่ย 100 กิโลเมตร วิ่งไปถึงก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว รถดับเพลิงขนาดใหญ่ ก็เช่นกัน นานๆ ทีจะได้ออกวิ่งไปเผชิญเหตุ กว่าจะวิ่งไปถึงก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว บางทีก็ทันแต่ใหญ่เกินไปเข้าไม่ถึงที่เกิดเหตุ
2.2 หน่วยงานระดับท้องถิ่น
1) ส่วนใหญ่ขาดแคลนงบประมาณ แม้ในแผนงานก็มีการตั้งไว้ ส่วนใหญ่ภายหลังก็มีการแปรญัตติไปใช้ในแผนงาน/โครงการอื่นๆ
2) ไม่มีศักยภาพในการป้องกันตนเอง ที่ขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบันคือขับเคลื่อนตามข้อสั่งการของหน่วยงานส่วนกลาง บางปีก็ต้องจัดสรรงบประมาณอุดหนุนแผนงาน/โครงการของส่วนกลาง
3.ระดับภาคธุกิจเอกชน/มูลนิธิ
- ธุรกิจขนาดใหญ่ เท่านั้นที่ลงทุนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านจัดหาบุคคลากร การฝึกอบรม การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ รวมทั้ง การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ธุรกิจขนาดเล็ก คอยหลบเลี่ยงกฎหมาย ละเลยความปลอดภัยละเลยความเสี่ยงความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจ ไม่มีการลงทุนด้านความปลอดภัย
4.ระดับภาคประชาสังคม
- มีการต่นตัวที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันสูงมาก จนล้นเกินในแต่ละเหตุการณ์ และที่ภาคประชาสัมคมซ้ำใจที่สุดคือ ไม่มีปัญญาที่จะคิดวิธีจัดการการช่วยเหลือจากภาคประชาสังคม พอพวกเราไปถึงก็จะโดนไล่กลับ / ไม่สนใจใยดี ก็ไปดูเอาในภาพยนต์ ขุนน้ำนางนอน สมกับเป็นบริษัทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำกัดเสียจริงๆ
5.ระดับปัจเจกบุคคล
พูดถึงบุคคลในปี 2563 ลงมาจนถึง ปี 2545 ได้รับการปลูกฝังถึงโครงสร้างของหน่วยงานรัฐที่ให้การโฆษณาชวนเชื่อด้วยงบประมาณที่มีแผนการดำเนินการไว้หมู่บ้านละ 5 หมื่นบาท ดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 ปีละ350 หมู่บ้านชุมชน บางคนได้รับการสถาปนาเป็นมิสเตอร์เตือนภัย ใส่หมวกโก้ๆ 1 ใบ และมีคนถึง 1 ล้านคนได้รับการสาปนาเป็น อปพร. มีชุดแต่งกายให้ มีการฝึกอบรมทบทวน แต่การดำเนินงานก็เพียงเป็นกำลังแรงงาน (การมีส่วนร่มระดับตำ่สุดของสังคม)
ข้อสรุป
- จากที่กล่าวมา คงไม่สามารถสรุปได้ว่าประเทศไทยได้ทุ่มเทดำเนินงานจนสามารถลดความเสี่ยงได้ในอนาคตถึง 15 ปี ตามความรู้สึก/ความเห็นส่วนตัว ทำได้เพียงในระยะ 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น
——–555555———–