วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ภาวะวิกฤติ (Crisis) หรือวิกฤติการณ์ หมายถึงเหตุการณ์ใดใดที่เกิดขึ้น ที่จะมีหรือมีกระทบต่อชื่อเสียง ความเชื่อถือ ความเชื่อมัน ศรัทธา ซึ่งจะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อผลการดำเนินการ หรือความสามารถในการดำเนินการ เพื่อบรรลุพันธกิจของสถาบันในระยะสั้น หรือระยะยาว และมีลักษณะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหัน มีผลกระทบสูง มีระยะเวลาในการบริหารจัดการน้อย

ประเด็นความเสี่ยงของ ปภ.

……1.ความเสี่ยงด้านอุปสงค์

……2.ความเสี่ยงด้านกระบวนการ

……3.ความเสี่ยงด้านข้อมูลสารสนเทศ

…..4.ความเสี่ยงด้านคุณภาพและมาตรฐาน

…..5.ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

…..6.ความเสี่ยงด้านการเงิน

…..7.ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

กรอบของผลกระทบที่ควรพิจารณา (Framework and check-list for impact analysis)

……..1) ผลต่อชื่อเสียง ความเชื่อมั่น หรือ ผลต่อการดำเนินการ

……..2) ผลในด้านชีวิต สุขภาพ และ/หรือ ทรัพย์สิน

……..3) ผลระยะสั้น หรือระยะยาว มีผลสืบเนื่องหรือไม่ อย่างไร

……..4) ผลต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง

……..5) ผลต่อบุคคลอื่น และ/หรือ ผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ

……..6) ผลต่อปัจจัยในการดำเนินการ

…….7) ผลต่อการบริหารจัดการ

การเตรียมพร้อม (Readiness) แนวทางปฏิบัติ

1) สร้างการตระหนักรู้ถึงผลกระทบของวิกฤติแต่ละประเภท โดยการสื่อสารทั้งองค์กร

2) จัดตั้งคณะทำงาน ทีมงานจัดการในภาวะวิกฤติ 1 ชุดกลาง และคณะทำงาน เพื่อรับผิดชอบเรื่องหลักแต่ละเรื่อง

3) จัดทำแผนแนวทาง การบริหาร และแนวทางปฏิบัติการเพื่อการดำเนินการต่อเนื่อง (Business Continuity Plan)

4) การเตรียมภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

5) ซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีโอกาสได้รับผลกระทบโดยตรง และผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ

6) สร้างเครือข่ายพันธมิตร เพื่อการประสานงานร่วมมือกันในภาวะวิกฤต

7) จัดทำระบบการสื่อสาร ในสภาวะวิกฤติ (อุปกรณ์ ขั้นตอน วิธีการ)

8) ระบบการประสานงาน

9) งบประมาณฉุกเฉิน

การตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ (Response)หรือแนวทางปฏิบัติ (ในเวลาใกล้ๆ กัน หรือพร้อมๆ กัน)

1) ประเมินสถานการณ์(Assess the situation)

2) ติดต่อประสานงาน กับพันธมิตร หน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3) การช่วยเหลือบุคคลผู้ได้รับผลกระทบ และผู้เกี่ยวข้องโดยตรง (People caring)

4) หาข้อมูล ข้อเท็จจริง อะไรเกิดขึ้น (Finding facts) อะไร ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม

5) ประเมินผลกระทบ (Assess impacts) ผลทันที และผลต่อเนื่อง ระยะสั้น ระยะยาว

6) ประชุมคณะทำงาน (Resume working team) เพื่อลงมือปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ทันที

7) การสืบสวนเพื่อหาสาเหตุ (Investigate)

8) สรุปสาเหตุ ผลสืบเนื่อง และแนวทางแก้ไข (Identify direction for solution)

9) การสื่อสาร (communicate)

การฟื้นฟู (Recovery) แนวทางปฏิบัติ

1) จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งบางส่วนเป็นกรรมการในคณะจัดการภาวะวิกฤต เพื่อความต่อเนื่อง

2) สรุปการประเมิน และประมาณการผลกระทบต่อระบบงานของมหาวิทยาลัยทั้งระบบ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

3) จัดทำแผนดำเนินการ โดยสรุปสี่งที่จะต้องดำเนินการ ลำดับก่อนหลัง ตามความจำเป็นและผลกระทบต่อการดำเนินการตามปกติ และความพร้อมของทรัพยากร และมีมาตรการในการติดตามผล

4) ดำเนินการ เพื่อให้องค์กร สามารถดำเนินงานได้ตามปกติ (BCM)

5) ดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล

6) บันทึกมาตรการต่างๆ

7) สื่อสารภายในและผู้เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และ/หรือ ความเชื่อมั่น ขวัญกำลังใจ

8) สื่อสารภายนอก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น

9) ติดตามผล

 

———————————–888888888—————————–