ด้วยรัฐราชการไทยได้บริหารจัดการพื้นที่วิฤติด้านภัยพิบัติ ด้วยการทุ่มซื้อซื้อรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยพร้อมอุปกรณ์ 160 คัน ราคา 867.9 ล้านบาท (เฉลี่ยคันละ 5.4 ล้านบาท) และรถประกอบอาหาร 72 คัน ราคา 324 ล้านบาท (เฉลี่ยคันละ 4.5 ล้านบาท) https://isranews.org/article/isranews-scoop/91509-repoer03-41.html?fbclid=IwAR2tbsvuMaBb3ttDlDZe-LkJytvHBx7RTAXSH9EKNlDtP5EGlJTcH0inBvQ
ประชาชนชาวไทยมีความต้องการจำเป็นที่จะต้องได้รับการบริการด้วยรถทั้ง 2 ประเภท โดยมาจอดรองานใน 18 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER23/DRAWER015/GENERAL/DATA0000/00000378.PDF(คล้ายๆ จะเป็นศูนย์พิพิธภัณฑ์เครื่องจักรอุปกรณ์การกู้ภัย) และเฉลี่ยในรอบ 1-2 ปี ออกทำงานครั้งเดียว มีความจำเป็นของใครในการที่จะต้องเจียดภาษีมาซื้อรถมาจอดรอการให้บริการที่ต้องเอาไปใช้จ่ายด้านอื่นๆ และต่อไปในแต่ละปีก็มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่จะต้องเพิ่มภาระของประชาชนในการจ่ายเงินเดือน ค่าตอบแทนจนสิ้นอายุเพิ่มขึ้น คนละ 30-40 ปี
ข้อมูลประกอบในการพิจารณาความต้องการจำเป็น
1. ประวัติศาสตร์ภัยพิบัติ
เหตุภัยพิบัติในอดีต หลายๆ พื้นที่ที่เป็นชุมชนริมน้ำ ประชาชนจะอพยพหนีน้ำไปยังพื้นที่ปลอดภัย เพียงใกล้ๆ เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 3 กิโลเมตร ความจำเป็นในการใช้รถราคา 5.4 ล้านบาทแทบจะเกินความจำเป็น ส่วนพื้นที่รองรับน้ำหลากก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเร่งด่วนให้เป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เอาพื้นที่ริมน้ำเป็นอันดับแรก และกำหนดพื้นที่ปลอดภัย/ศูนย์อพยพห่างจากชุมชน เฉลี่ย 15 กฺิโลเมตร พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำหลากเป็นพื้นที่เปราบางที่สุดที่จะต้องเร่งขนย้ายโดยเร่งด่วน พื้นที่เสี่ยงน้ำเอ่อลันตลิ่งชุมชนเขามีประสบการณ์การอยู่ร่วมกับเหตุการณ์มาเป็นร้อยๆ ปี ยังมีหน้าไป CBDRM อย่างเร่งด่วน ทำมาเป็นสิบๆ ปี (ตั้งแต่ตั้งหน่วยงานปี 2545) ใช้เงินภาษีไปก็คงประมาณ 8-9 พันล้านบาท
2. กระบวนการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยทรัพยากรและกำลังอาสาร่วมบูรณาการ
หลักการที่มีประสิทธิภาพ และความสมเหตุสมผลของการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ การจัดการภัยพิบัติต้องให้ความสำคัญในการร่วมบูรณาการทรัพยากรของประชาชน เอกชนธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นจะต้องมอบให้หน่วยงานใดเป็นผู้ผูกขาดครอบคลุมแต่เพียงหน่วยเดียว และประเด็นสำคัญศักยภาพการทำงานด้านการอพยพก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติก็ทำได้แค่บลาๆๆๆแบะๆๆๆๆ เปลี่ยนชื่อกรม เปลี่ยนพันธกิจให้ทำงานแข่งขันกับมูลนิธิน่าจะเหมาะสมกับทิศทางการทำงานในขณะนี้ สะสมเครื่องมืออุปกรณ์ราคาหลายๆ ล้านเพื่อไปเก็บซากเก็บประชาชนงั้นหรา เขียนการบูรณาการดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ด้วยhttp://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB46/%BB46-20-2550-a0001.pdfนะ แต่ความต้องการอย่างเหลือล้นของเหล่าราชการจึงทำเป็นละเลยเพิกเฉยต่อสิ่งที่ตนเองเขียนขึ้น
สรุป ภาระเงินภาษีพี่น้องประชาชน ต้องมาจมอยู่ที่ในอาณาเขตพื้นที่ของหน่วยงานรัฐ จำนวน 18 แห่ง
—————-xxxxxxxx—————