คุณภาพชีวิตบนท้องถนนไม่ได้จำกัดอยู่แค่ทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและยานพาหนะเท่านั้น เนื่องจากการใช้ถนนแปรเปลี่ยนไปตามสถานะที่แตกต่างกันตามกลุ่มชนหรือปัจเจกบุคคล คุณภาพชีวิตบนท้องถนนนอกจากวัดจากทรัพยากรแล้ว ยังต้องวัดอีก 2 ด้านได้แก่
- ด้านที่หนึ่ง ต้องวัดจากความเป็นไปบนท้องถนนที่ดีเชิงอัตวิสัย ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลคือผู้ตัดสินสภาพการณ์ของตัวเองว่าตัวเองมีความสุขมีความทุกข์มีความพึงพอใจจากสภาพการณ์ที่มากระทบ ดังนั้นต้องเอื้อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความสุขและพึงพอใจกับชีวิตตนบนท้องถนน
- ด้านที่สอง ต้องวัดจากแนวคิดสมรรถนะ ที่เห็นว่าชีวิตมนุษย์เป็นการผสมผสานของ “การทำและการเป็น”(บทบาทหน้าที่) หลายๆอย่าง ที่สะท้อนถึงเป้าหมายของการเป็นมนุษย์ เคารพความสามารถของปัจเจกบุคคลที่จะแสวงหาและบรรลุเป้าหมายที่คนผู้นั้นให้คุณค่า ปฏิเสธรูปแบบที่ปัจเจกบุคคลมุ่งเอารัดเอาเปรียบเอาประโยชน์ส่วนตนให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์และอารมณ์ความรู้สึก ให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างสมรรถนะที่แตกต่างกันไป รวมทั้งยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ โดยให้ความสนใจต่อบทบาทของหลักการทางจริยธรรมในการออกแบบสังคมที่ดี
- หากสังคมเพิกเฉยละเลยการวัดคุณภาพชีวิตบนท้องถนนทั้ง 2 ด้านดังกล่าวข้างต้นย่อมก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เป็นความทุกข์ความไม่พึงพอใจ การเอารัดเอาเปรียบเอาประโยชน์เฉพาะตน ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆนานา จะเกิดแรงบีบคั้นกับผู้ใช้รถใช้ถนน
——————&&&&&&&—————–