ปี 2563 รัฐบาลกู้เงินมหาศาล 1.99 ล้านล้านบาท ประมาณสี่แสนล้านบาทก็จะมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้หน่วยงานภาครัฐเป็นคนเสนอโครงการและงบประมาณที่จะต้องใช้ มุมมองที่จะพัฒนาพลันก็มุ่งไปที่ประชาชนยังไม่รู้ (ออกไปเสนอว่ากรมเราทำอะไร มี พ.ร.บ. มีองคค์กรอะไรบ้าง (เวลาเกิดเหตุการณ์จริงก็เดี๊ยงทุกที (แบบสอนคนอื่นได้แต่ตัวเองซื่อบื้อ) อุทกภัยคือไร ภัยแล้งคือไร องค์ประกอบของไฟ โชว์ปิดถังก๊าซ พากันวิ่งวุ่นอพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย (แต่ไม่เคยเสนอ/ร่วมกันคิดว่าเวลาที่จะไม่ปลอดภัย) )
ไม่เคยคิดในการมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้สมกับวาทกรรมโฆษณาชวนเชื่อ เราก้าวเข้ามาอยู่ในยุค 4.0 เทคโนโลยีที่พัฒนาก็เป็นเพียงการเขียนอ้างในคำของบประมาณว่า Big data สูญงบประมาณไปกับการพัฒนาฐานข้อมูลระดับ 0.4 แทบจะใช้ประโยชน์อันใดไม่ได้ในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ เวลาเกิดภัยพิบัติก็ต้องใช้ระบบข้อมูลยุค 2.0 ในการให้การช่วยเหลือ (เพราะระเบียบกฎหมายกำหนดขั้นตอนกระบวนการรับรองข้อมูล)
งบประมาณปีละ 6-7 พันล้านในแต่ละปี ในการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ช่วยยกระดับให้พี่น้องประชาชนเพียงน้อยนิด ต้องเผชิญกับความเสี่ยงภัยพิบัติในระดับที่รุนแรงขึ้นรุนแรงขึ้น สถิติการประสบภัยมีผลกระทบรุนแรงขึ้น
ก้าวไม่ถึงเทคโนโลยีดาวเทียมและเซนเซอร์ใหม่ๆ ที่เป็นความต้องการจำเป็นยิ่ง มากกว่าการรู้ความหมายอุทกภัยคืออะไร ถึงแม้เทตโนโลยีดังกล่าวจะไม่สามารถเยียวยาโลกที่อยู่สภาพป่วยไข้ในขณะนี้ได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น แต่ช่วยให้เรายกระดับการลดความเสี่ยงให้อยู่กับสภาพป่วยไข้ของโลกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
ความต้องการศักยภาพของดาวเทียมในงาน
1.การตรวจป่าไม้ดูดซึมน้ำไว้เป็นปริมาณเท่าใด ซึ่งสำคัญต่อการกำหนดมาตรการควบคุมการเกิดไฟป่าที่กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการที่ชัดเจนแม่นยำ
2.การตรวจจับสมดุลระดับน้ำใต้ดิน พัฒนาระบบทดแทนการหย่อนเซ็นเซอร์ลงในบ่อน้ำ้เพื่อตรวจวัดระดับใต้ดิน ด้วยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมจะให้ภาพรวมที่ชัดเจนถูกต้องมากกว่า
3.การตรวจวัดความชื้นของดิน จากดาวเทียมจะให้ความถูกต้องแม่นยำในการพยากรณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตทางการเกษตร และทุพภิกขภัยได้อย่างแจ่มชัด
-เมื่อดินอุ้มนำ้ไว้มาก เมื่อฝนตกลงมามักจะเกิดนำ้ท่วม
-เมื่อดินมีความชื้นต่ำกว่าปกติ จะเกิดภัยแล้งตามมา
ในปัจจุบันกรมอุตุยิยมวิทยาติดตามกลุ่มเมฆฝนและสภาพอากาศ และแจ้งลักษณะสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น แต่หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถระบุว่าพื้นที่จะเกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยหรือภัยแล้งอย่างชัดเจน หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัยรับหรือติดตามข้อมูลก็ส่งข้อมูลเตือนต่อไปยังหน่วยงานตามระดับชั้น (แต่ละชั้นก็เพียงรับทราบ งงๆ ว่ากูจะทำอะไรว่ะถ้าไม่แจ้งต่อไปเพียงเท่านั้น) ให้ระมัดเตือนว่าอาจจะเกิดนำ้ท่วมหรือภัยแล้ง แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามที่แจ้งเตือน เพราะไม่มีความแม่นยำ
4.การเฝ้าดูโลกหายใจ โดยตรวจวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปลดปล่อยหรือดูดซับไว้ เพื่อรักษาสมดุลหรือกำหนดพื้นที่ดูดซับ ควบคุมกิจกรรม ควบคุมคุณภาพการผลิต ที่เป็นธรรมมากขึ้น แทนที่จะฝากความหวังไว้กับเจ้าหน้าออกไปใช้ดุลพินิจรีดนาทาเร้นแทนที่จะดูแลการหายใจของโลกกับเร่งเร้าการทำลาย
อุปสรรค
ในการดำเนินงานคงยากที่จะเกิดขึ้น (ทั้งๆ ที่มันง่าย) เพราะไปดึงอ้อยออกจากปากช้าง คงเป็นไปได้ยาก
————————////////////////////————————-