วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทุกๆ ปี ปีแล้วปีเล่าผ่านไป หน่วยงาน องค์กรที่ดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้งบประมาณของคนในชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการที่สวยหรูแต่เคลือบด้วยการกัดกร่อนชาติ หน่วยงาน องค์กรที่ดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไม่มีปืนเหมือนทหาร ที่เราไม่อาจเข้าไปตรวจสอบ หรือแม้แต่วิเคราะห์ให้เห็นว่า ที่สร้างอาณาจักรภายใต้การใช้งบประมาณมหาศาลนั้น เมื่อคราวออกปฏิบัติงาน พี่น้องประชาชนก็พอจะคาดเดาได้ว่าแพ้ทุกชาติ สู้รบพันตูกันได้คงเป็นชาติที่มีพลเมืองเพียง 5-7 ล้านคน โดยมีข้อสังเกตุกรณีดังกล่าว ดังนี้

1. การกดขี่เสรีภาพ

หน่วยงานภาครัฐได้สร้างกลไกอำนาจรัฐเพื่อควบคุมระบบนิเวศและวิถีชีวิต ภายใต้กระบวนทัศน์ของภูมิปัญญาราชการ แม้การจัดการที่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของในภาพรวมของหน่วยงานองค์กร แต่นั้น ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นแทนที่จะเป็นประโยชน์ที่มากที่สุดของคนที่เสียเปรียบมากที่สุดซึ่งเป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติ  จนบางทีก็ภาวะล้นเกินของ (สิ่งของ) การช่วยเหลือที่ไม่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูบูรณะอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพิ่มการสร้างอาณาจักรของหน่วยงาน

องค์กรโดยไม่สมดุลกับความต้องการจำเป็นจริงๆ เป็นความต้องการจำเป็นหลอกๆ ที่จินตนาการอย่างไม่สมเหตุสมผล ราชการจะมีมุมมองของกฎหมาย ไม่ได้มองว่าราชการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม

ทั้งสองกรณี มีจุดยึดสำคัญคือ การปฏิบัติการผ่านลำดับชั้นที่ตายตัว (ทำให้ผู้ปฏิบัติยากต่อการรับรู้ว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการกัดกร่อนชาติ) และมีลักษณะแยกขาดจากประชาชนในพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบ

————————-5555—————————