ด้วยคุณลักษณะของสังคมไทย เป็นสังคมที่ยอมรับว่าการประสบผลสำเร็จในชีวิตไม่ได้ขึ้นกับตัวเอง แต่ขึ้นอยู่กับการได้รับการอุปถัมภ์
และรวมตัวกันในแนวดิ่ง รวมตัวกันเพื่อมุ่งเอื้อประโยชน์ แลกเปลี่ยนประโยชน์กัน
ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนดั้งเดิม ซึ่งการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนเหล่านี้ นักการเมืองหรือเหล่าข้าราชการก็ได้อาศัยลักษณะสังคมดั้งเดิม
ในการแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ บางแผนงาน/โครงการผลประโยชน์ที่ชุมชนดั้งเดิมได้รับน้อยมาก
และด้วยโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดสังคมลักษณะหนึ่งขึ้น คือ สังคมเสมือน โดยมีคุณลักษณะของสังคม คือ เป็นการรวมกลุ่ม
หรือสร้างกลุ่มเพื่อเป้าหมายหรือความสนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งจากเหตุภัยพิบัติที่ผ่านมาหลายๆครั้ง
ชุมชนเสมือนก็ได้แสดงตัวให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน
และที่ผ่านมาก็ทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น หรือเกิดการช่วยเหลือซ้ำซ้อนกันมากในบางพื้นที่
(เช่น การเอาของไปแจกช่วงอุทกภัย)
ดังนั้น การบริหารจัดการสาธารณภัยในปัจจุบัน ต้องมีการดำเนินการสร้างความพร้อม ให้กับชุมชน ทั้ง ๒ ชุมชนอย่างพร้อมเพียง
๑.ชุมชนดั้งเดิม ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เกิดขึ้น
๒. ชุมชนเสมือน ต้องพัฒนาด้านสารสนสนเทศเพื่อตอบสนองความสนใจ สร้างระบบความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ