วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การพัฒนาไม่สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของประชาชน เรื่องภัยพิบัติยังเป็นความต้องการที่ไกลตัวสำหรับชุมชนที่ยังไม่รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ

ส่วนใหญ่ชุมชนถูกยัดเยียดการให้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เรียกได้ว่าหน่วยงานภาครัฐเดือดร้อนมากกว่าประชาชนเดือดร้อนเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติเนื่องจากภัยพิบัติ

 

ภาครัฐต้องเปลี่ยนกระบวนการ   โดยต้องแสวงหาความต้องการจำเป็นสำหรับชุมชน  และแสวงหาความร่วมแรงร่วมใจ

รูปแบบวิธีการที่เป็นของส่วนกลางจะต้องเป็นรูปแบบที่กว้างๆ   เทคนิค กระบวนการย่อยต้องเป็นไปตามบริบทของพื้นที่

 

ซึ่งการดำเนินการ ดังกล่าวข้างต้นก็ต้องอาศัยคุณภาพของเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ต้องคำนึงว่าความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา

 

ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน”หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น

 

ดังนั้น เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด จะนำไปสู่การนำไปปรับใช้ ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม หรือไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น อันจะทำให้มีสมรรถนะด้านการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ