อะไรบ้างที่ถือเป็นความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ ก็ต้องบอกว่าสรรพสิ่งที่มีลักษณะทางกายภาพที่พร้อมจะปฏิสัมพันธ์กันอันส่งผลให้มนุษย์ได้รับความเสียหาย ซึ่งองค์ประกอบที่จะปฏิสัมพันธ์กันให้เกิดความเสียหาย นั้น แยกเป็นลักษณะกว้างๆ ได้ 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1. การกระทำที่เกิดอันตรายได้ง่ายเกิดข้อผิดพลาดได้มาก/กระทำการหมิ่่นเหม่ต่ออันตราย/การเข้าไปเสี่ยงไปลุยในพื้นที่หรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีไม่เหมาะสม/การไม่ยอมหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่เสี่ยงอันตราย
2.ช่องโหว่หรือจุดอ่อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ด้วยแนวทางมาตรการต่างๆ เช่น
2.1 ยังไม่มีระเบียบวิธีปฏิบัติ
2.2 ยังไม่มีบทบาทของผู้ประเมินชัดเจน รวมทั้งวิธีการประเมินให้เหมาะสม และมีความปลอดภัย
2.3 ยังไม่มีการรับรองทางกฎหมาย
2.4 ยังไม่มีการร่วมจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสมในการเก็บรวบรวมและทำลาย ตลอดจนการประเมินผล
3.ความเปราะบาง แยกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
3.1 ความเปราะบางทางสังคม หมายถึง สภาวะที่สังคมมีทัศนคติที่ยอมรับการกระทำหรือพฤติกรรมทางสังคมหรือวัฒนธรรมที่ส่งผลให้สังคมไม่มีสมรรถนะหรือความสามารถต้านทานต่อความล้มเหลวของระบบนิเวศรอบๆ ตัว ทั้งนี้ ความเปราะบางทางสังคม ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) ความเปราะบางของส่วนรวม (Collective Vulnerability)
2) ความเปราะบางของปัจเจกบุคคล (Individual Vulnerability)
3.2 ความเปราะบางทางกายภาพ หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นคุณต่อมนุษย์สามารถดำเนินอยู่ได้เพียงสภาวะเช่นนี้เท่านั้น สภวะเช่นนี้ไม่มีความสามารถที่จะต้านทานให้คงอยู่ในสภาวะเดิมหากหากมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพจะมีสภาวะที่เป็นโทษต่อมนุษย์
3.3 ความเปราะบางทางสภาวะจิตใจ หมายถึง สภาวะที่ถูกชักจูงได้ง่าย ถูกเอารัดเอาเปรียบ ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ หรือไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
———xxx———-