สัญาณเตือน “อาการง่วง” ในขณะขับรถ ที่จะทำให้ผู้ขับขี่รู้ว่าตนเองมีอาการ “ง่วง” มีดังนี้
๑.หาวบ่อยและหาวต่อเนื่อง
๒.ใจลอยไม่มีสมาธิ
๓.รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย
๔.จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาเทื่อสองสามกิโลเมตรที่ผ่านมา
๕.รู้สึกหนักหนังตา ตาปรือ ลืมตาไม่ขึ้น มองเห็นภาพไม่ชัด
๖.รู้สึกมึน หนักศรีษะ
๗.ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง
๘.มองข้ามสัญญาณไฟและป้ายจราจร
ใคร คือกลุ่มเสี่ยงสูงของการเกิดอุบัติเหตุ จากการ ง่วงหลับใน
๑.คนในวัยหนุ่มสาว : โดยเฉพาะคนที่มีกิจกรรมช่วงหัวค่ำแล้วนอนดึก นอนหลับไม่เพียงพอ ดังนั้น หากนอนน้อยควรชดเชยการนอน ไม่ควรเป็นหนี้การนอนไปเรื่อยๆ
๒.คนที่ทำงานเป็นกะหรือผลัด หรือมีชั่วโมงการทำงานมาก จากการทำงานมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง
๓.คนที่มีอาชีพขับรถรับจ้าง รถขนส่ง จากการขับรถระยะทางไกลๆหรือเป็นเวลานานหลายชั่วโมง นักวิจัยออสเตรเลียพบว่า คนที่ตื่นตลอดเวลาติดต่อกัน ๑๘ ชั่วโมง จะมีประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลงเท่ากับคนที่มีระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และถ้านาน ๒๔ ชั่วโมง จะเท่ากับคนที่มีระดับแอลกอออล์ในกระแสเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
๔.นักธุรกิจที่เดินทางเป็นประจำ นอนไม่เป็นเวลา
๕.คนที่มีภาวะผิดปกติในการนอน
๖.คนที่ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ที่เกิดจากรถยนต์ ซึ่งอาจรั่วเข้าไปในรถ หรืออยู่ระหว่างรถติด
๗.อยู่ในระหว่างกินยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยากันชัก ยาแก้โรคซึมเศร้า
๘.ผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมของสภาพร่างกายเป็นไปตามวัย
——————[[[[[[[[[[[[[[[[————————–