อุปสรรคที่ทำให้ชุมชนไม่มีขีดความสามารถในการจัดการภัยพิบัติ มีดังนี้
- ๑. การขาดความตระหนัก กล่าวคือ ชุมชนไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนตนเอง โดยเฉพาะรูปแบบของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระยะยาว ไม่มีความตระหนักถึงผลสืบเนื่องที่จะเกิดตามมาจากกิจกรรมทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ซึ่งภาครัฐจะให้การสนับสนุนให้ชุมชนมีความกระจ่างชัด แต่ในภาวะปัจจุบัน เราก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นขีดความสามารถของรัฐในด้านนี้ หลากหลายโครงการและงบประมาณมหาศาลที่ภาครัฐดำเนินการเพียงมาคุยโวภารกิจของตนเอง อำนาจหน้าที่ของตนเอง แผนงานโครงการของตนเอง และก็บอกความรู้ด้านวิชาการอุทกภัยคืออะไร ภัยแล้งคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร ผลาญงบประมาณปีละ 80 ล้านบาท ทำมาก็ 12-13 ปีแล้วก็ผลาญไม่มากนะ พันกว่าล้านบาทเอง
- ๒.การขาดความสามารถด้านเทคนิค กล่าวคือ ชุมชนไม่สามารถกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินการปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ หรือความสามารถในการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
- ๓. การขาดทรัพยากร กล่าวคือ ชุมชนส่วนใหญ่ยังมีทรัพยากรที่จำกัดที่จะใช้ขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆหรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อปรับวิถีชีวิตหรือทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หน่วยงานรัฐก็เสืือกมีแนวทางที่จะปฏิบัติการในชุมชนด้วยเจ้าหน้าที่ ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ไอ้เครื่องมืออุปกรณ์ที่จะใช้ป้องกันยังไม่มีเครือข่ายทุจริตคอรัปชั่นคิดที่จะทำจะขายจะของบประมาณมาป้องกันชุมชนได้ บริษัมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำกัด ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อ ตั้งแต่ปี 2558 -2563 เฉลี่ยปีละ 3.5 พันล้านบาท 6 ปี ก็รวมๆ แล้ว ก็ สองหมื่นล้านบาท และในปี 2564 และปีต่อไปก็ยังมีัญชียาวเป็นหางว่าว แปลกไหมที่ขนาดเงินกู้ 1.9 ล้านเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจ ยังนำมาจัดซื้ออุปกรณ์ได้มากมาย ทั้งที่กลุ่มที่ดำเนินการห้าหกปีก็กลุ่มเดิม 1-2 เจ้าเท่านั้น
ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านขาดความตระหนักรู้ โดยไม่ตระหนักถึงรูปแบบหรือการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงในอนาคต อีกทั้ง ยังไม่สามารถเชื่อมโยงประเด็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเข้ากับการปรับวิถีชีวิต ไม่เฉพาะชุมชน แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่สามารถชี้นำชุมชนได้
——————-ปปปปปป———————-