การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินการมักขัดแย้งกับวัฒนธรรมที่ขาดความรับผิดชอบ ทำให้มีความเคยชินที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว
แต่ละพื้นที่ต้องหาจุดสมดุลในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในพื้นที่ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับเงื่อนไขของโครงสร้างชุมชน และนิเวศสังคมในแต่ละพื้นที่
เมื่อยึดหลักความจริงที่ว่าสังคมย่อมมีพลวัตภายในตัวเอง คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีเงื่อนไขของนิเวศสังคมและเกิดความต้องการของสังคม การหาจุดสมดุลที่จะสามารถถ่วงรั้งหรือลดอุบัติเหตุทางถนนนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้
แนวทางการหาจุดสมดุล มี ดังนี้
การเริ่มต้น จะต้องเริ่มจากการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการว่าเหมาะสมหรือไม่ และเหมาะสมอย่างไรบ้าง
ลำดับต่อไป ต้องมองหาเป้าหมายที่ยั่งยืนทางนิเวศสังคมในแต่ละพื้นที่
ลำดับที่สาม ต้องคอยฉกฉวยโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ซึ่งระบบค่านิยมในชุมชนก็อาจเปลี่ยนแปลงไป
ลำดับที่สี่ ต้องหมั่นโจมตีหรือคอยกระตุ้นให้มีการพูดคุยอย่างเปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์กับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น รถนักเรียนประสบอุบัติเหตุ
ลำดับที่ห้า ส่งเสริมการคอยดูแลระบบความปลอดภัยในชุมชน ให้ความสำคัญกับบทบาทของแต่ละเครือญาติครอบครัว ลุง ป้า น้า อา ในการปฏิบัติการจริงในกลุ่มเครือญาติ ส่วนการร่วมมือกันภายในชุมชนก็จะมีส่วนช่วยเสริมได้อย่างมาก แต่ไม่ประเด็นหลัก ถ้าเอาเป็นประเด็นหลักจะเกิดความขัดแย้งกันสูงยิ่งในชุมชน
ลำดับที่หก ชาวบ้านหรือชุมชนต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อชุมชนจะได้เลือกตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น
ลำดับที่เจ็ด สนับสนุนคนภายนอกให้มีส่วนสนับสนุน ช่วยพัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ การพัฒนาวิจัยการสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบความปลอดภัย