ลักษณะของความไม่ยุติธรรมในปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรมบนท้องถนน
ปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรมบนท้องถนนที่ไม่มีความยุติธรรม ซึ่งหมายถึง รูปแบบอิทธิพลอุดมการณ์ (Ideology) อำนาจ (Power) อัตลักษณ์ (Identity) ค่านิยม (Value) ความไม่เท่าเทียมกันหรือความเป็นใหญ่ (Hegemony) แบบแผน (Pattern) กฏเกณฑ์ทางสังคม (Social rules) ระบบโครงสร้างทางสังคม (Social structure systems) หรือความสัมพันธ์ทางสังคม (Social relationships) ของผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ ผู้ใช้รถใช้ถนนและผู้ปฏิบัติงานในกลไกควบคุม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เที่ยงตรงและเสมอต้นเสมอปลายตามที่กฏหมาย ระเบียบ มาตรฐานวิชาชีพหรือจรรยาบรรณวิชาชีพบัญญัติไว้ของผู้ใช้รถใช้ถนนและผู้ปฏิบัติงานในกลไกควบคุม เป็นความขัดแย้ง การต่อต้านอำนาจรัฐหรืออำนาจองค์กร ส่งผลให้ลดทอนสุขภาวะบนท้องถนน
จากความหมายปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรมบนท้องถนนที่ไม่มีความยุติธรรมดังกล่าวข้างต้น ปัญหาที่พบหรือเป็นที่คุ้นชินของสังคมไทย ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ
1) ปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรมบนท้องถนนที่ไม่มีความยุติธรรมตามอำนาจหน้าที่ภารกิจพันธกิจขององค์กรหรือหน่วยงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพหรือจรรยาบรรณวิชาชีพที่บัญญัติกลไกควบคุมพฤติกรรมหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ส่งผลให้ลดทอนสุขภาวะบนท้องถนน อาทิเช่น การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่เกินที่ระเบียบกฎหมายกำหนด ทำกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่าเป็นได้เพียงพิธีกรรมของรัฐ การทุจริตประพฤติมิชอบ และการไม่มีธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
2) ปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรมบนท้องถนนที่ไม่มีความยุติธรรมในลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน ละเลยไม่ยอมใช้สิทธิของตนเอง หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ส่งผลให้ลดทอนสุขภาวะบนท้องถนน อาทิเช่น การไม่เสียภาษีรถยนต์ การไม่ทำประกันภัยรถยนต์ การขับขี่เร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การเมาแล้วขับขี่ การจอดยานพาหนะในที่ห้ามจอด การรุกล้ำถนน เขตทางและทางเท้า เป็นต้น
—————————[[[[[[[[[[[[[[[[[[[[[[[[——————————