วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การใช้กลไก ประชารัฐ ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเฝ้าระวัง กำกับ ป้องปรามผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่

๑) ปัจจัยเสี่ยงที่จะควบคุม ๒ ปัจจัย คือ

๑.๑) พฤติกรรมเมาแล้วขับขี่และขับขี่เร็ว

๑.๒) บริเวณจุดอันตราย(จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งอันเนื่องมาจากหลายๆปัจจัย) และบริเวณจุดเสี่ยง(บริเวณที่คนในชุมชนหมู่บ้านกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุแม้ว่าจะใช้ความระมัดระวังสูงก็อาจจะพลาดพลั้งได้/จุดที่ผู้ขับขี่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง)

๒) กลไก “ประชารัฐ”

๒.๑) ทุกหมู่บ้านทุกชุมชน จัดตั้ง “ด่านชุมชน”โดยไม่มีเป้าหมายที่จะบังคับใช้กฏหมายจราจร แต่มุ่งควบคุมผู้ที่มีพฤติกรรมเมาแล้วขับขี่  ขับขี่ด้วยความเร็วในชุมชนหมู่บ้าน และให้การแจ้งเตือน ดูแลอำนวยความสะดวกคนในชุมชนในการผ่านจุดเสี่ยง เหมือนกับดูแลเด็กๆนักเรียน ซึ่งแนวทางปฏิบัติ มีดังนี้

(๑) บริเวณที่ตั้งของด่านชุมชน ให้ตั้งใน ๒ จุด คือ

(๑.๑) ในบริเวณที่จัดงานรื่นเริง งานบุญประเพณี

(๑.๒) ในจุดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนนของชุมชนหมู่บ้านแต่ไม่ตั้งบนเขตทางหลวง และเขตทางหลวงชนบท ตั้งบนเส้นทางของท้องถิ่นที่ใช้เข้าสู่จุดเสี่ยงนั้นๆ

(๒) ช่วงเวลาการตั้ง ตามช่วงเวลาที่มีสถานการณ์ความเสี่ยง แต่ไม่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

(๓) อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้

(๓.๑) ไม้กั้นยาว ๒.๐๐เมตร บนฐานไม้ประกอบขัดกันเป็นกากบาท ทาสีขาวแดง  จำนวน ๓ ชุด

(๓.๒) ไฟฉาย จำนวน ๒ กระบอก

๒.๒) การแจ้งขอความร่วมมือในการบังคับใช้กฏหมาย

ในบางกรณี “ด่านชุมชน” อาจจำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฏหมาย จึงขอให้ดำเนินการ ดังนี้

(๑) สถานีตำรวจภูธรแต่ละแห่ง จัดชุดเคลื่อนที่เร็วสนับสนุนการบังคับใช้กฏหมาย

(๒) อำเภอดูแล กำกับช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างด่านชุมชนกับสถานีตำรวจภูธร