การประเมินผลการลดอุบัติเหตุทางถนน ส่วนใหญ่แล้วการประเมินผลที่ดำเนินการอยู่ไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจของผู้ขับขี่ได้ด้วยตนเอง
หรือมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือเกิดการตัดสินการกระทำของตนเอง หรือทำใฟ้เกิดพลังอำนาจของสังคม
การประเมินในปัจจุบันมีข้อบกพร่อง ดังนี้
1.ประเมินโดยขาดพื้นฐานแห่งความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ซึ่งในการประเมินจะมองจากข้อมูลในสภาพความเป็นจริง ในสถานที่เกิดอุบัติเหตุจริง
2.ใช้วิธีก่ีที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากเกินไป ควรใช้วิธีการ/เครื่องมืออย่างง่ายก่อน หากเห็นว่าไม่อาจเข้าใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจึงใช้วิธีการที่ยากและซับซ้อน
3.ประเมินเพื่อบ่งชี้ความแตกต่างและบ่งชี้ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอุบัติเหตุทางถนนเท่านั้น
4.ประเมินเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดบนโยบาย และมักจะประเมินผลความคืบหน้าของแผนงาน/โครงการเท่านั้บ ถึงแม้ว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในบริบทที่หลากหลาย แต่ไม่เคยพบว่ามีการประยุกต์ในบริบทอื่นๆ
การประเมินที่ควรกระทำ
1.เน้นการประเมินผลด้านการปลูกจิตสำนึกด้านการใช้รถใช้ถนน
2.เน้นการประเมินที่ตอบสนองต่อการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย ไม่เน้นเฉพาะผู้ขับขี่
3.เน้นการประเมินระบบติดตามเฝ้าระวังเพื่อควบคุมความเสี่ยง
4.เน้นการประเมินที่ตอบสนองต่อการตัดสินการกระทำของผู้ขับขี่